เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บทความสั้นๆ ได้ใจความJack
วิวัฒนาการของอาหาร
  • ย้อนอดีตไปดูวิวัฒนาการของมนุษย์จากที่ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว เปลี่ยนไปเพาะปลูกและดัดแปลงพันธุกรรมพืช นักมนุษย์วิทยา Stephen Le คนเขียนหนังสือเรื่อง 100 Million Years of Food จะทำให้เรารู้ว่าเมื่อ 100 ล้านปีที่แล้ว บรรพบุรุษเราเคยกินอะไรบ้างและมันสำคัญกับชีวิตในตอนนี้ของเรายังไง เราจะเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงการกินอาหารของมนุษย์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอาหารการกินในสมัยใหม่ ที่รวมถึงเรื่องสุขภาพและอายุขัยของเรา

    บรรพบุรุษเรากินแมลงเป็นอาหารหลัก

    เมื่อประมาณ 100 ล้านปีที่แล้ว มนุษย์ยุคแรกๆ ยังอาศัยอยู่บนต้นไม้ ในป่าร้อนชื้น พวกเค้ากินแมลงเป็นอาหารหลัก เพราะแมลงมีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เหล็กและสังกะสี มนุษย์ในตอนนั้นสามารถย่อยและได้รับสารอาหารจากแมลงได้ เพราะมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยเปลือกแข็ง Exoskeleton ในแมลง ซึ่งประกอบไปด้วยสาร Chitin

    บรรพบุรุษเราเปลี่ยนมากินพืช

    เมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงที่อุณภูมิโลกเย็นลงและอากาศก็ชื้นขึ้น อากาศที่เย็นและชื้นขึ้นทำให้เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืช และบรรพบุรุษเราก็เริ่มหันมากินพืชและผลไม้ และก็เป็นช่วงนั้นเองที่มนุษย์ได้สูญเสียความสามารถในการสร้างวิตามินซี ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย เป็นไปได้ว่าการได้รับวิตามินซีจากการกินผลไม้มีประสิทธิภาพมากกว่าการสังเคราะห์ขึ้นมาเอง ทำให้ความสามารถนั้นไม่จำเป็นและไม่ถูกถ่ายทอดไปยังมนุษย์รุ่นใหม่

    บรรพบุรุษเราลงจากต้นไม้

    เมื่อประมาณ 3 ล้านปีที่แล้ว เป็นช่วงที่สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมากเนื่องจากพลังลึกลับ ทฤษฏีที่เป็นที่ยอมรับกันคืออุกกาบาตยักษ์ชนโลก และจากการที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์โดยมีมุมเอียงเล็กน้อย (Axis of rotation) ทำให้ขั้วหนึ่งของโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนอีกขั้วก็หันห่างออกไป นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีด้านที่หันหนีจากดวงอาทิตย์ ก็ส่งผลทำให้อากาศโดยรวมของโลกเย็นลง ความชื้นและน้ำแข็งถูกกับเก็บไว้ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และนั่นก็ยิ่งทำให้เกิดฤดูกาลที่ต่างกันอย่างชัดเจน

    บรรพบุรุษเราเริ่มทำเกษตรกรรม

    หลังจากนั้นมนุษย์ได้เปลี่ยนรูปแบบการกินอีกครั้ง โดยเริ่มทำเกษตรกรรม พืชพื้นเมืองอย่างเช่น ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวโพด กลายเป็นผลผลิตหลัก มนุษย์สามารถผลิตและเก็บอาหารได้มากขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มประชากรได้มากขึ้น และหลังจากนั้นประชากรที่ทำฟาร์มก็เริ่มมีจำนวนมากกว่ากลุ่มที่ล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว ดูเหมือนมนุษย์ยอมทิ้งชีวิตแบบเดิมๆ จากการที่ล่าสัตว์ กินอาหารที่ให้พลังงานสูงทำให้สุขภาพดีร่างกายแข็งแรง เพื่อแลกกับผลผลิตที่แน่นอนและมีประสิทธิภาพมากกว่าจากการปลูกพืช และต่อมามนุษย์ก็เริ่มเลี้ยงสัตว์ สัตว์พื้นเมืองอย่างเช่น วัว แพะ และแกะเป็นแหล่งอาหารที่ให้ทั้งเนื้อและนม

    อ่านต่อ

    ย้อนรอยวิวัฒนาการของอาหาร

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in