เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเครื่องดนตรี กีต้าร์ , เบส , กลอง , เปียโน , คีย์บอร์ดshabumusic
ไกด์ไลน์ กีต้าร์ไฟฟ้า เลือกอย่างไร ซื้อแบบไหน อ่านเข้าใจง่าย
  • กีต้าร์ไฟฟ้า

    ผมเชื่อๆ ว่าเด็กผู้ชายหลายๆ คน มีความอยากที่จะเล่นดนตรีมากกว่า 50% แน่นอน แต่อาจจะแบ่งย่อยออกไปในหลายๆ ชิ้น แต่เครื่องดนตรียอดฮิตสำหรับผู้ชายก็คงหนีไม่พ้น กีต้าร์ แน่นอน บางคนอาจจะเริ่มเล่นจากกีต้าร์โปร่งก่อน บ้างก็เริ่มเล่น กีต้าร์ไฟฟ้า เลย ซึ่งถือว่าไม่มีผิดมีถูก

    เราจะเริ่มเล่นจากอะไรไม่สำคัญ แต่อุปกรณ์ที่เราจะใช้ในการฝึกเล่นนั้นสำคัญกว่า แน่นอนเราต้องมีอาวุธดีๆ สัก 1 ชิ้นก่อนจะออกไปรบได้ เริ่มจากการสนใจและความอยากเล่น นำมาสู่การที่เราจะต้องหาซื้อกีต้าร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

    ซึ่งวันนี้เราจะมาดู กีต้าร์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี และ ราคาไม่แรงจนเกินไป เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการกีต้าร์ไฟฟ้า ไว้ฝึกซ้อม ราคาไม่แรงในที่นี้คือเท่าไหร่? " เอาเป็นสักช่วง ไม่เกิน 5000 แล้วกัน " ไม่แพงและไม่ถูกจนเกินไป เพราะจะได้ความคุ้มค่าที่สุดในเรทราคานี้ด้วย

    สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับกีต้าร์ไฟฟ้า ก่อนที่จะซื้อมีอะไรบ้าง?

    1. อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมด

    จะซื้อแค่กีต้าร์ไฟฟ้าอย่างเดียวไม่ได้นะเออ! มันไม่เหมือนกับกีต้าร์โปร่งที่เราไม่ต้องใช้อะไรเป็นตัวช่วยให้เกิดเสียงที่ดัง เพราะกีต้าร์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการเล่นด้วย เช่น

    • กีต้าร์
    • สายแจ๊ค
    • แอมป์กีต้าร์ (ลำโพง)
    • ปิ๊กกีต้าร์สำหรับใช้ดีด

    4 สิ่งนี้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเล่นกีต้าร์ไฟฟ้า หากขาดชิ้นใดชิ้นหนึ่งไป ก็ไม่อาจเกิดเสียงได้ ซึ่งในบทความต่อๆไป เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งเหล่านี้กัน บทความนี้เราจะเจาะเรื่องของ กีต้าร์ไฟฟ้า กันก่อนเนอะๆ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป จะได้มีของดีๆไว้ใช้ซ้อมกัน

    2. วิธีเลือกกีต้าร์ไฟฟ้า ต้องดูอะไรบ้าง ?

    ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ชอบมองข้ามกันมาก บ้างก็ไม่มีความรู้ บ้างก็ไม่เรื่องนี้กัน แต่ที่ไหนได้เรื่องนี้กลับเป็นเรื่องพิ้นฐานที่ต้องรู้ก่อนซื้อจริงๆ " หากอยากได้กีต้าร์ไฟฟ้าที่ดีและตอบโจทย์การใช้งานในระยะยาว "

    รูปทรงของกีต้าร์ไฟฟ้า

    เรื่องนี้แหละที่บางคนมองข้ามที่สุด เพราะอะไร ? เรามัวแต่ไปหลงอยู่กับรูปทรงของกีต้าร์ไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะสิ่งแรกที่เราเห็นก็คือรูปลักษณ์ของตัวกีต้าร์นั่นเอง

    พลาดเรื่องอะไร ? สิ่งที่เราพลาดนั่นคือเราไปเลือกกีต้าร์ไฟฟ้า ที่มีรูปทรงแปลกๆ นั่นแหละครับ จุดจบของจริง ฮ่าๆ สำหรับมือใหม่ เราควรจะหลีกเลี่ยงกีต้าร์ทรงพวกนี้ครับ ไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่ง

    Jazzmaster, Mustang , Jaguar , Explorer Flying V Firebird

    เหตุผลไม่ใช่เพราะมันไม่ดีนะ แต่มันยังไม่จำเป็นสำหรับเรานั่นเอง มันคือทรงเฉพาะทางและเล่นได้ยากสำหรับใหม่ สำหรับทรงที่แนะนำ

    Stratocaster , Telecaster , Les Paul , SG , PRS , musicman , Ibanez

    ส่วนของสะพานสาย หรือ Bridge

    คืออะไร ? มันคือส่วนของสะพานสาย ที่อยู่ในส่วนท้ายของบนตัวกีต้าร์ไฟฟ้านั่นเองครับ โดยลักษณะของ Bridge มีอยู่ 3 ชนิดหลักๆ นั้นก็คือ

    • Fixed Bridge
    • Tremolo Bridge
    • Floyd Rose Bridge

    เป็นเรื่องของสปริงแต่ละแบบ ส่งผลถึงสายกีต้าร์นั่นเอง และเรื่องการตั้งศูนย์ของสปริงซึ่งมีความยุ่งยากสำหรับมือใหม่เป็นอย่างมาก สิ่งที่เราควรหลีกเลี่ยงสุดคือ Floyd Rose นะครับ

    และมือใหม่ที่เริ่มต้นเล่นควรที่จะหากีต้าร์ไฟฟ้าเป็นแบบ Fixed Bridge เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งสายและการดูแลรักษากีต้าร์มากที่สุด

    Pick up / ส่วนที่ใช้ในการรับเสียงของกีต้าร์ไฟฟ้า

    กีต้าร์จะเหมาะกับการเล่นแนวไหนขึ้นอยู่กับส่วนนี้ด้วยนะ เพราะปิ๊กอัพแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน แต่อย่างเพิ่งตกใจไปครับ จริงมันก็ใช้อยู่ไม่กี่แบบหรอกนะ โดยมือใหม่ควรเลือกปิ๊กอัพที่เป็นแบบ Passive Pick Up หรือแบบที่ไม่ต้องใช้ถ่าน ซึ่งสามารถถามจากร้านได้ ว่าปิ๊กอัพกีต้าร์ไฟฟ้า เป็นแบบ Passive หรือ Active ส่วนมากอยู่ในรูปแบบของ Humbuckers

    ส่วนหัวหรือลูกบิดกีต้าร์

    มาถึงส่วนสุดท้าย ก่อนที่เราจะเข้าไปสู่เนื้อหาหลัก แนะนำ กีต้าร์ไฟฟ้า แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ กัน ส่วนของลูกบิดกีต้าร์ไฟฟ้านั่น แบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันคือ

    • ลูกบิดแบบปกติ
    • ลูกบิดแบบล็อคสาย

    สำหรับมือใหม่ไม่ต้องคิดมากครับ เลือกแบบไหนก็ได้ไม่มีผลต่อการเล่นและการฝึกซ้อมสำหรับมือใหม่มากนัก ในส่วนนี้จะเป็นการเลือกใช้ให้เข้ากับสไตล์การเล่นที่ป้องกันการเพี้ยนของสาย หรือพวกเล่นดันสาย เล่นคันโยกก้นบ่อยๆ นั่นเอง จริงๆ มันสามารถลงลึก Detail ต่างๆ เกี่ยวกับ วิธีการเลือกซื้อกีต้าร์ไฟฟ้า ได้มากกว่านี้สามารถตามไปอ่านต่อกันเองได้ ในบทความนนี้ผมได้สรุปให้สำหรับคนที่รีบอ่านและต้องการจับประเด็นหลักๆ

    กีต้าร์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี เหมาะสำหรับมือใหม่ ใช้ฝึกซ้อม

    หลังจากที่เราได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ วิธีการเลือกซื้อกีต้าร์ไฟฟ้า เบื้องต้นกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะได้รู้กันแล้วว่ามี กีต้าร์ไฟฟ้า ยี่ห้อไหนบ้างที่ คุ้มค่าและเหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด คัดแล้วว่าดีในเรทราคานี้เลย

    1. กีต้าร์ไฟฟ้า Yamaha PACIFICA012


    ยี่ห้อคุ้นหน้าคุ้นตากันดี สำหรับ Yamaha Pacifica012 ที่ได้รับผลตอบรับดีเยี่ยมสำหรับนักเรียนไปจนถึงมืออาชีพที่ใช้ฝึกซ้อมฝึกเล่น เพราะมันนิยมถูกนำไปใช้สอนในคลาสเรียนกีต้าร์ไฟฟ้า แข็งแร็ง ทนทาน เสียงดี เล่นได้กว้าง ราคาประหยัด เพียงแค่ 6,400 บาท

    สเปคและรายละเอียด

    • Body: Alder, Agathis Nato or Mahogany
    • Neck: Maple
    • Frets: 22 Rosewood Fingerboard
    • Pickups:SSH,5-way switch
    • Controls: Master volume, Master Tone
    • Bridge: Tremolo

    2. กีต้าร์ไฟฟ้า Mclorence SC-100


    ทรงเท่ๆ สาย Rock ห้ามพลาด! จัดไปสำหรับผู้ที่ต้องการเรื่องรูปลักษณ์ของกีต้าร์ต้องเท่ไว้ก่อน สายร็อคเกอร์ - เมทัล เอาอยู่ ดีไซน์หรู สีสวยๆ มีรวดลายทำสี จัดไปที่ราคา 4,590 โอ้แม่เจ้าซื้อไปเลยไม่ต้องเสียดาย ราคานี้

    สเปคและรายละเอียด

    • รุ่น : SC-100
    • สี : แดง เขียว ขาว ซันเบิร์ด ดำ
    • ปิ๊กอัพหน้า/หลัง : ฮัมบัคกิ้ง (Humbucking)
    • ไม้หน้า : Basswood Top Frame Maple
    • ไม้ข้าง/หลัง : Basswood
    • คอ: Maple
    • ฟิงเกอร์บอร์ด : Rosewood
    • Selecter : 3 ทาง
    • ปุ่มวอลลุ่ม : 1 ปุ่ม
    • ปุ่มโทน : 1 ปุ่ม

    3. กีต้าร์ไฟฟ้า Cort X-1


    ดีไซน์ดุๆ เสียงดุๆ กันอีกตัว สาย Rock - Metal วัยรุ่นนักเรียนนิยมชมชอบ รูปลักษณ์และดีไซน์แบบนี้แน่อน ตัวกีต้าร์เป็นสีแบบด้าน สีดำ โดย Cort เป็นกีต้าร์สัญชาติของเกาหลี เรื่องวัสดุและความคุ้มค่าสมกับราคาแล้ว 5,865 บาท กับสเปคต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาเมื่อเทียบกับกีต้าร์ไฟฟ้าในราคาเท่าๆกัน


    สเปคและรายละเอียด

    • รุ่น : X-1
    • สี : ดำ ขาว แดง
    • ปิ๊กอัพหน้า/หลัง : ฮัมบัคกิ้ง (Humbucking)
    • ตัวกีต้าร์ : Solid Hardwood
    • คอ: Maple
    • ฟิงเกอร์บอร์ด : Rosewood
    • Selecter : 3 ทาง
    • ปุ่มวอลลุ่ม : 1 ปุ่ม
    • ปุ่มโทน : 1 ปุ่ม

    4. กีต้าร์ไฟฟ้า Maya MST-50


    Maya เป็นแบรนด์กีต้าร์ที่มีอายุมาอย่างยาวนาน นั่นทำให้มั่นใจได้ถึงคุณภาพที่อยู่ในระดับที่ดี สายเบาๆ เน้นเสียงคลีนๆ เล่นคอร์ด เด้งๆ คอกีต้าร์คอขาว ทรง Stratocaster เล่นเพลงแนววง Tattoo colour หวานๆ ไปจนถึง Rock นิดๆ โซโล่หนึบๆ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบร็อคหนักๆ จัดไป 4,500 บาท


    สเปคและรายละเอียด

    • รุ่น : MST-50
    • สี : 3 สี Sunburst , White , Black ,Green
    • ปิ๊กอัพ : SSS
    • บอดี้ : Basswood
    • คอ : Maple
    • ฟิงเกอร์บอร์ด : Rosewood
    • Selecter : 5 ทาง
    • Volume : 1
    • Tone : 1
    • Bridge : Tremolo Bridge

    5. กีต้าร์ไฟฟ้า Swing TG – 1


    ปิดท้ายก่อนจากกัน เธอเตรียมหัวใจมากก่อน เฮ้ยไม่ใช่ๆ กีต้าร์ไฟฟ้า ทรง Telecaster สายคอร์ดหวาน เน้นเล่นคอร์ดเยอะๆ ชอบแน่ น้ำหนักเบามาก สะพายสบายๆ เหมาะกับผู้หญิง เล่นแนวเพลง Pop Rock ได้ดี คอเล็กเล่นง่าย ในราคาสบายๆ 5,100 บาท


    สเปคและรายละเอียด

    • Indonesian Mahogany body
    • Hard Maple Neck
    • Maple Fingerboard
    • 9.5″ (241mm) Radius
    • 22 Frets
    • 2.4mm Medium Fret Size
    • 25.5″ (648mm) Scale
    • 42mm, PPS Nut
    • Chrome Hardware
    • SWING Diecast Tuners
    • SWING “T” Hardtail Bridge
    • SWING TS-1 Pickup sets
    • 3-way Selector
    • Position 1: Bridge
    • Position 2: Bridge + Neck
    • Position 3: Nek
    • Master Volume
    • Master Tone
    • Gloss Finish
    • Black Color
    • Blonde Color
    • 2-tone Sunburst Color

    จบกันไปแล้วบทความแรกเรื่องการแนะนำ กีต้าร์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิธีการเลือกซื้อ และ เรื่องยี่ห้อและรุ่นต่างๆ ที่มีความโดดเด่นและมีข้อดีที่แตกต่างกัน ที่สำคัญเซฟในเรื่องของราคาด้วย สามารถจับต้องได้และซื้อมาฝึกซ้อมกันสบายๆ เก็บเงินซื้อเองก็ได้

    สิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่างหลงเชื่อรีวิวต่างๆ เป็นแค่เพียงไกด์นำทางให้เราประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล หรือ ให้ความรู้ให้เราจับจุดได้โฟกัสได้ตรงเป้ามากยิ่งขึ้น ดีกว่าที่เราจะเดินไปดุ่มๆ โดยไม่มีข้อมูลอะไรในหัวเลย นั่นเเหละน่ากลัวที่สุด สิ่งที่เราต้องทำต่อหลังจากอ่านจบคือการไปทดสอบและเทสด้วยตัวเองอีกที จบข่าวแยกย้าย...

    แหล่งที่มาเพิ่มเติม https://www.bigbromusic.com

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in