เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สปอยหนักมาก เรื่องย่อรีวิว+Death In Venice 1971 Part I (1/2)ifnotlater_when
สปอยหนักมาก เรื่องย่อรีวิว+Death In Venice 1971 Part I (1/2)

  • Death in Venice หรือ  Morte a Venezia (1971)

    ผู้ผลิต Warner Bros.

    ภาษาที่ปรากฏในเรื่อง  English | Italian | Polish | French

    วันออกฉาย 5 มีนาคม 1971 (Italy)

    ความยาวหนัง 130 นาที

    กำกับโดย Luchino Visconti 

    นักแสดง

    Dirk Bogarde ในบท Gustav von Aschenbach นิคเนมในรีวิว  “ลุง”

    Björn Andrésen ในบท Tadzio นิคเนมในรีวิว  “น้อง”

     

    คำเตือน สปอยล์ละเอียดยิบ แบบไม่ได้ดูก็เข้าใจเนื้อหาเกือบครบถ้วนและการสปอยเป็นแบบแฟนเกิร์ลโหมด*** (เน้นกรี๊ดน้อง Tadzio+ความสัมพันธ์ ช-ช)

     

    ทำไมถึงสนใจเรื่องนี้ (สามารถข้ามไม่อ่านได้ค่ะไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง Death in Venice)

    ก่อนอื่นเราออกตัวก่อนค่ะว่า เราเป็นแฟนคลับหนังและนิยายcall me by your name 2017 

     ส่วนใหญ่เราจะทวิตเกี่ยวกับหนังสือและหนังที่กำลังจะเข้ารึอะไรทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้กำกับ ลูก้า กัวดาญีโน่ นักแสดงอาร์มี่ แฮมเมอร์ ทิโมธี ชาลาเม่ต์ รวมถึงคนแต่ง อังเดร เอซิแมน แฟนอาร์ตCMBYN เราทวิตทุกอย่างค่ะ 5555 ขนาดรอบฉายหนังที่นิวซีแลนด์ยังทวิต เลยมีสมาคมเพื่อนกรี๊ดด้วยกันชาวญี่ปุ่นเขาแนะนำว่าเนี่ยดูเรื่อง Death in Venice 1971  แล้ว พระเอกในเรื่อง คุณลุงกุสต๊าฟเหมือนน้องเอลิโอ้ ใน CMBYN เลย (เฝ้าเพ้อถึงโอลิเวอร์) แต่โอลิเวอร์ใน Death in Venice อยู่ในรูปแบบหนุ่มน้อย... 

    (ปก ที่แฟนคลับCMBYNชาวญี่ปุ่นแปะปลากรอบ เราเห็นทีแรกคิด(เหมือนหลายๆคน)ว่าน้องคนสวยเสื้อขาวเป็นผู้หญิง +เรามารู้ทีหลังเรื่องนี้ดังมากๆที่ญี่ปุ่น)

    เราก็แบบ เฮ้ย ไรวะ งง ... เลยไปหาใน IMDB อ่าว ไม่เคลียร์ ไปวิกิ คราวนี้แหละ อ๋อ เลย... อ่านเรื่องย่อ คนญี่ปุ่นพูดตรงมาก ดูต่อ...ผู้กำกับ วิสเคาตี้ ใครไม่รู้จัก เปิดประวัติ อ้าว ผู้กำกับอิตาลี่ เป็นเกย์ด้วย คุณลูก้า กัวดาญีโน่คนอิตาลี่ก็เกย์ น่าสนใจๆ... ค้นอีก แปลงมาจากนิยาย Death in Venice  1912  คนแต่งโทมัส แมนน์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมชาวเยอรมันเป็นไบเซกช่วล คุณอังเดร เอซิแมนอดีตอาจารย์มหาลัยสอนสาขาวรรณกรรมก็เหมือนเคยยอมรับในบทสัมภาษณ์ว่าเขาสนใจทั้งสองเพศ

     สรุป มันเป็นความเหมือนหลายๆอย่างที่ทำให้เราสนใจมากๆค่ะ สถานที่ ณ อิตาลี่ และเหมือนจะเขียนจากประสบการณ์ตรงผู้แต่งด้วย แต่ที่สำคัญน้องนายเอก Tadzio สวยมาก (อันนี้มาเป็นอันดับ1) ไม่รอช้า เปิดดูออนไลน์ซับไม่ตรงเหรอ... ไม่เป็นไร คิดว่าพอไหว อ่านเรื่องย่อมาแล้ว.... ลุย...

     

    เนื้อเรื่อง+ รีัวิว เราอาจจะไม่ได้เล่าเรียงตามทามไลน์หนังเพื่อง่ายต่อการเข้าใจนะคะ

    พระเอกนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน(แต่ในนิยายเป็นนักเขียนนิยายค่ะ --จุดนี้โดนแฟนนิยายกับนักวิจารณ์สับมาก เพราะไม่ตรงกับของดั้งเดิม ผกก.วิสเคาตี้เอาตัวละครที่เป็นนักแต่งเพลงจากผลงานเรื่องอื่น Doctor Faustus ของโทมัส แมนน์มาปน T^T ) กุสต๊าฟ แอชเชนแบช เหนื่อยจากการทำงานวงออเคสตร้า หมอแนะนำว่าควรไปพักผ่อนคลายเครียดฟื้นฟูจิตใจ ขืนทำงานต่อไปจะทรุด มีโรคหัวใจ เขาตัดสินใจจะมาที่โรงแรมGrand Hotel des Bains ตั้งอยู่บนเกาะลิโด้ในเวนิส อิตาลี่


      
    กุสต๊าฟ นั่งเรือใหญ่มา.... ไม่ค่อยชอบสภาวะอากาศ (ตรงนี้กล้องถ่ายสภาพเมือง ทะเล ท้องฟ้าสวยมาก)  

    พอเรือเทียบท่าก็เจอกับนักท่องเที่ยวที่กุสต๊าฟเห็นแล้วแหยงๆ แถมเขายังถูกแซวอีก 

    ผู้ชายหัวแดงคนนี้ ทำตัวไม่รู้จักแก่ ย้อมหัวแดง แต่งตัวเนี๊ยบ แต่งหน้าจัด แถมมาคณะหนุ่มหล่อๆเป็นขโยง.... เดินหนีดีกว่า ไม่ชอบ! 

    ไปขึ้นกอนโดล่าก็มีปัญหากับคนพายเรือไม่มีใบอนุญาติ ทะเลาะเถียงกันบอกให้ไปส่งที่ท่าเรือก็ไม่ไปจะพาไปขึ้นที่ลิโด้ให้ได้   


    แต่ก็มาจนถึงโรงแรม.... 
    ภาพจากอินเตอร์เน็ต (โรงแรมเป็นสถานที่จริง ระบุชัดเจนทั้งในนิยายและหนัง  ผกก.จึงใช้โลเคชั่นที่นี่  ซึ่งเรื่องจริงนั้นผู้แต่งโทมัส แมนน์มาพักผ่อนกับครอบครัวแล้วได้ตกหลุมรักเด็กน้อยชาวโปแลนด์ที่มาเข้าพักเช่นกัน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งนิยายเรื่องนี้...) 
    ปัจจุบันGrand Hotel des Bains ปิดตัวลง กำลังเปลี่ยนสภาพเป็นอพาร์ตเมนต์ระดับหรูหราแทน)

    Check in พร้อมตู้สัมภาระ พนักงานต้อนรับแขกVIPอย่างดี (การตกแต่งภายในดีมาก หรูหรา แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในยุคเฟื่องฟูในอดีตของโรงแรมนี้ได้เป็นอย่างดี)
    ห้องพัก มุมดีเปิดไปก็เห็นวิวทะเล (เดี๋ยวจะมีซีนส่องน้องจากหน้าต่างตามมาในอนาคต...)  แต่สภาพอากาศมีพายุเข้า ท้องฟ้าเลยหม่นๆ แต่เดี๋ยวอากาศก็คงจะดีขึ้นกว่านี้ พนง.โรงแรมบอก
    หนังเฉลยว่าลุงเป็นพ่อหม้าย ลูกสาวและภรรยาคนสวยเสีย แต่ก็ยังใส่แหวนที่นิ้วไว้อยู่ ดูลุงแกรักครอบครัวมาก ลุงทำหน้าเหงาๆ นึกถึงเพื่อนนักแต่งเพลงที่ทำงานด้วยกัน ลุงตัดพ้อกับเพื่อนถึงความไม่เอาไหนของตัวเองในการแสดงดนตรีล่าสุดของตัวเอง 

    เล่าให้เพื่อนฟังว่าที่บ้านมีนาฬิกาทราย ทรายร่วงหล่นลงรูเล็กๆ ตอนแรกก็ไม่รู้สึกอะไรถึงความเปลี่ยนแปลง ทรายกองเต็มที่ส่วนบน แต่ทรายหล่นไปเรื่อยๆ  Till the last moment...when there's no more time... (เหมือนจะตัดพ้อความชราภาพตัวเอง ส่งผลให้ไม่มีความครีเอทดีๆให้งานสดใหม่)

    ตัดกลับมาปัจจุบัน แขกเต็มโรงแรมเพราะเป็นหน้าร้อนฤดูท่องเที่ยว เสียงคุยกันหลายชาติหลายภาษา ทุกคนแต่งกายหรูหรา  มีดนตรีบรรเลง บรรยากาศครึกครื้น

    ลุงอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ก็มองบรรยากาศรอบห้องไปด้วย 

                                                 จน...มาสะดุดกับ มุมโน้น ครอบครัวใหญ่.... มองไล่ไปทุกคน...


                                                                           อ๊ะ....

                                                                           ตะลึง... 

    (อยากรู้จัก ชื่ออะไรนะ...เงี่ยหูฟังครอบครัวน้องคุยกัน...) ส่องระยะเผาขน
    ทำหน้าเครียดกลบเกลื่อนตอนส่อง จ้องจะทะลุอยู่แล้ว -*- " 
    จากการส่องเผาขน ก็ได้ยินว่าน้องชื่อTadzio   คุณผู้หญิงเสื้อชมพูใช้ชื่อนี้เรียก  น่าจะเป็นคุณแม่ เธอดูสุงศักดิ์เลดี้มากๆ มีพี่เลี้ยงใส่แว่นหน้าเคร่งมาดูแลลูกสาวสามคนและลูกชายของเธอ
    ครอบครัวใหญ่เริ่มย้ายไปที่ห้องรับประทานอาหารค่ำ น้องคนสวยเดินรั้งท้าย (ลุงแกก็ทำเนียนต่อไป) 
    แต่... 
    น้องก็หันกลับมาสบตากับลุง เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า อย่าคิดนะครับ ว่าผมไม่รู้ว่าถูกคุณมองน่ะ!  
    ลุงเองก็ไปที่ห้องอาหารเช่นกัน สั่งอาหารบริกร แต่ก็ยังคงส่องเด็กต่อไป 
    เฮ้อออออ สวยจังเลยน้าาาา 
    เด็กหนุ่มนี่มันดีต่อใจจริงๆ
     อ๊ะ แย่แล้ว ตกหลุมรักซะแล้ว ... ลุงหน้าเจื่อน ด้วยความเจียมสังขารตน 
    นึกถึงอดีตตอนออกมาเดินย่อยอาหารข้างนอกระเบียง 

    คุยกับเพื่อนถกกันเรื่องประเด็น จิตวิญญาณ ความงาม ความบริสุทธิ์ ลุงบอก The creation of beauty and purity is a spiritual act. 

    You cannot reach the spirit through the senses. 

    It's only by complete domination of the senses...that you can ever achieve... wisdom, truth and human dignity.. 
    แล้วก็พูดกันถึงพรสวรรค์ เพื่อนบอกว่า 

    Evil is a necessity. 

    It is the food of genius.

    ลุงไม่ค่อยเห็นด้วย ลุงบอกศิลปินต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องไม่ทำตัวคลุมเครือ เพื่อนก็เถียงกลับ แต่ศิลปะมันคือความคลุมเครือ โดลเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของดนตรี แล้วคุณเพื่อนก็วิจารณ์ดนตรีของลุง เล่นเพลงไปด้วย 
    ภาพตัดมา ณ ปัจจุบัน 
    ลุงโทรมเหมือนไม่ได้นอนทั้งคืนอยู่ในห้องอาหาร แขกอื่นๆกำลังทานอาหารเช้า 
    นั่น น้องคนสวยคนเมื่อวาน
     
    เตรียมพร้อม... นำเอาหนังสือพิมพ์มากางกลบเกลื่อน
    น้องหันไปเห็น ... นี่เราถูกคุณลุงคนเดิมมองอีกแล้ว...
    มุมปากคู่สวยกระตุกยิ้มบางๆ ...

    หลังรับประทานอาหารเสร็จ และส่องน้องจนแทบจะอิ่มแทนข้าวได้อยู่แล้ว (อาหารตาอาหารใจ)
     ลุงกุ๊สต๊าฟก็ออกมาเดินย่อยที่ชายหาดข้างนอกอย่างเบิกบานใจ?
    ได้มุมสงบ เหมาะแก่การส่อง Tadzio ...  
    เด็กมันก็เหมือนจะรู้นะคะ .- -. 
    ป่าวนะ ไม่ได้มอง... 
    น้องเลยไปเล่นกับเพื่อน
    เฮ้ยๆ มือๆ 
    หึงหวงไม่อยากให้ไอ้หนุ่มนั้นมาสัมผัสแตะต้อง แต่ตัวเองก็ทำอะไรไม่ได้ มองตาละห้อยดูน้องเล่นกับเพื่อน ก่อปราสาททราย เล่นน้ำทะเล... 
    ได้ยินเสียงนักท่องเที่ยวคุย บอกว่ามีโรคระบาด อย่าเที่ยวไปกินผลไม้สดที่ไม่ได้ผ่านความร้อน 
    สตอเบอรี่นี่ตัวดี .... แต่ลุงก็แล้วไง ใครแคร์  อารมณ์ฉันจะกิน...ตายก็ตาย 

    เวลาผ่านไป ลุงก็เข้ามาใกล้ๆจุดที่น้องเล่นกับเพื่อนมากขึ้น
    นายแม่และพี่เลี้ยงมารับ 
    น้องขึ้นจากทะเล ห่มผ้าเช็ดตัว
    หันมาโปรยยิ้มให้ลุง
    >_<
    .....
    เดินกลับโรงแรม (ก็น้องไม่อยู่ให้ส่องแล้ว จะอยู่ที่หาดอีกทำไม) 
    ขึ้นลิฟต์ อ้าว.... 
    เจอกันอีกแล้ว.... 
    มองมามองกลับไม่โกง ใครหลบตาก่อนแพ้...รอบนี้
    เหมือนเพื่อนคนอื่นก็รู้ว่าน้องคนสวยถูกคุณลุงแก่ๆมอง *กระซิบกระซาบ*
    น้องก็หัวเราะกับเพื่อน 
    เปิดหมวกให้ดู กลัวลุงเห็นหน้าผมไม่ชัด 
    ออกจากลิฟต์ไปก่อน แต่เกมนี้ใครหลบตาก่อนแพ้ น้องจ้องกลับไม่หยุด
    Tadzioยืนมองกุ๊สตาฟจนลิฟต์ปิด... 
    ย้อนกลับไปคิด เพื่อนคนเดิมว่าตนในอดีต 

    You are afraid to have direct, honest contact with anything! Because of your rigid standards of morality...you want your behavior to be as perfect as your music.

    วันถัดมา ลุงยังโทรมสุดๆ ทนน้องปั่นหัวไม่ไหว บอกผจก.โรงแรมฉันจะเช็คเอาท์พรุ่งนี้!!! 
    แต่ก็ยังเจอกับTadzio ที่เดินสวนมาอีกจนได้ 
    สายตาที่เด็กหนุ่มมองมาอย่างละมุนนั้นทำให้กุ๊สต๊าฟ แอชเชนแบชไม่สามารถขยับก้าวเดินต่อไปได้ 
    เขารำพึงกับตัวเอง

    Farewell, Tadzio. It was all too brief.

    May God bless you.


    จบรีวิว พาร์ท 1 

    (1/2) 

    ต่อ

    PART II

    V

    V

    SPOIL+ภาพ รีวิว DEATH IN VENICE 1971
     (2/2)



























     




      



      










เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in