เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
In My Opinion, ฉันสาธารณะカホ
โตเกียว โอลิมปิกกับการตื่นวัฒนธรรมอีกครั้ง
  • งานโอลิมปิกฤดูร้อน ปี 2016 ที่ริโอปิดฉากลงไปเป็นที่เรียบร้อย และในโชว์ส่งท้ายโอลิมปิกบราซิลได้ส่งไม้ต่อให้กับญี่ปุ่น ประเทศเจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน ปี 2020ซึ่งโชว์ส่งท้ายเพียงไม่กี่นาทีก็ทำให้โตเกียว โอลิมปิก(โตเกียว 2020)เป็นที่พูดถึงบนโลกออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก

    โชว์ส่งไม้ต่อเริ่มต้นด้วย VTR ที่ฉายภาพถนนและตึกอันซับซ้อนของมหานครโตเกียว เล่าเรื่องนักกีฬาผสานเข้ากับเกมยอดนิยมและตัวการ์ตูนยอดฮิตมากมายและที่สร้างเสียงฮือฮาที่สุดคือการปรากฎตัวของนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในชุดMario ตัวละครเอกจากเกม SuperMario Bros. – ภาพของผู้นำประเทศที่แต่งชุดเลียนแบบตัวละครจากเกมทำให้ผู้คนทั่วโลกมองเป็นตาเดียวกัน

    งานระดับชาติทำไมไม่หยิบวัฒนธรรมมาเล่า

    หลายคนมีภาพวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหัวเป็นกีฬาซูโม่กิโมโน เกอิชา ดนตรีเครื่องสาย หรือแม้กระทั่งซามูไรแล้วทำไมญี่ปุ่นไม่ใช้สิ่งเหล่านี้มานำเสนอในเวทีระดับโลกกันล่ะ

    ในแง่หนึ่งการนำสิ่งเหล่านี้มาชูเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่เคร่งขรึมเคร่งเครียด และชาตินิยมจนเกินไป ลองนึกภาพการใช้ซามูไรออกมาโชว์ฟันดาบแค่คิดภาพก็รู้สึกว่าชาตินิยมจนไม่อยากคบ ประกอบกับญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แคร์สายตาการทำให้เป็นประเด็นดราม่าไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี

    ในอีกแง่คือวัฒนธรรมเหล่านั้นไม่มีแรงพอที่จะฉุดให้คนสนใจ ไม่ปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านั้นเก่าแก่ มีความสำคัญแต่มันไม่สะดุดตาและชวน “เหวอ” มากกว่า “ว้าว” ครั้งหนึ่งในอดีตซูโม่เคยพ่ายแพ้ให้แก่หัวรถจักรจำลองและเรือกลไฟของสหรัฐอเมริกามาแล้วหรือแม้แต่กระทั่งซามูไรก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ดูดีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง

    แล้ววัฒนธรรมไหนจะทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้ถ้าไม่ใช่การ์ตูน และเกม

    “แต่การ์ตูน และเกมไม่ใช่วัฒนธรรมนะ” เสียงตะโกนจากชาวไทยจำนวนไม่น้อย

    วัฒนธรรมคือรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดอีกทั้งยังมีประเภทที่หลากหลาย ซึ่งศิลปะ วรรณคดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม...การกล่าวถึงเกม การ์ตูน ว่าไม่ใช่วัฒนธรรมคือการกล่าวอย่างไม่เข้าใจวัฒนธรรม

  • ใช้การ์ตูนและเกมนำเสนอเช่นนี้ เปิดกว้างสมกับเป็นญี่ปุ่นจริงๆ...เหรอ?

    การนำเกม การ์ตูนมาเป็นส่วนผสมหลักในการนำเสนอกิจกรรมใหญ่ระดับชาติทำให้หลายคนล้วนชื่นชมประเทศญี่ปุ่นที่เปิดกว้าง นอกกรอบ กล้าหาญที่หยิบเกมการ์ตูน มาเล่า และถึงขั้นพูดกันว่านายกชินโสะ อาเบะ หัวสมัยใหม่ที่ทำอะไรเช่นนี้ – ทำไมเราถึงคิดว่าการกระทำนั้นคือการเปิดกว้าง

    หากเรามองการนำการ์ตูน เกมมาผสานเข้ากับงานต่างๆ เป็นเรื่องแปลกนั่นเป็นเพราะเรามองด้วยสายตาของคนต่างวัฒนธรรมเนื่องจากการ์ตูนและเกมในประเทศไทยมีสถานะเป็นสื่อบันเทิงสำหรับเด็กสื่อบันเทิงเฉพาะกลุ่ม หรือให้แย่ยิ่งขึ้นด้วยการที่หลายคนมองเป็นอุบายมุขสิ่งมอมเมา ทำให้การนำสิ่งดังกล่าวมาพูดถึงในงานระดับชาติเป็น “เรื่องแปลก”ในสายตาคนไทย

    ความเป็นจริงแล้วการ์ตูนและเกมในญี่ปุ่นไม่ได้อยู่ในสถานะสื่อนอกกระแสเฉกเช่นประเทศไทยมันเป็นกระแสหลักมานานหลายสิบปีโดยเฉพาะการ์ตูนที่อยู่ร่วมกับสังคมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น(ModernJapan) มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะมังงะ(การ์ตูนญี่ปุ่น)มีการพูดถึงครั้งแรกราวๆ ปี 1798 หรือศตวรรษที่ 18ซึ่งในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาเพิ่งมีประธานาธิบดีคนแรกเอง!

    มันไม่ใช่ของใหม่ของใหม่แม้แต่น้อย มันเก่ามันอยู่ร่วมกับสังคมชาวญี่ปุ่นมานาน ในงานโฆษณานับหมื่นนับแสนชิ้นในประเทศญี่ปุ่นต่างหยิบทั้งการ์ตูนและเกมมาใช้เล่าเรื่องกันอย่างสนุกสนานอย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น การ์ตูนและเกมเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นและมันเป็นวัฒนธรรมมาตั้งนานแล้วก่อนที่เราคนนอกจะทันรู้ตัว


  • คิดอย่างผู้นำไม่คิดแบบอนุรักษ์นิยม?

    สิ่งที่ถูกพูดถึงไม่แพ้กันก็คือตัวนายกรัฐมนตรีชินโสะอาเบะ ที่แต่งชุด Marioมุดท่อน้ำออกมาหรือกิจกรรมส่วนตัวอย่างเช่นการชอบอ่านมังงะชาวไทยจำนวนไม่น้อยกล่าวว่าเขาเป็นผู้นำที่เปิดกว้าง ไม่หัวโบราณ อนุรักษ์นิยมและแอบหยิบประเด็นนี้จิกกัดผู้นำท่านอื่น

    แท้จริงแล้ว ชินโสะ อาเบะไม่ใช่คนที่เปิดกว้างอย่างที่หลายคนคิด เขาเป็นหนึ่งในนายกสายอนุรักษ์นิยมของญี่ปุ่นที่มาจากพรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคฝั่งอนุรักษ์นิยมผู้เก๋าเกมทางการเมืองของญี่ปุ่นในด้านสังคม นโยบายภาครัฐต่างๆ มีความอนุรักษ์นิยมไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องกองทัพและประวัติศาสตร์ชาติ– ใครที่บอกว่าเขาเปิดกว้าง หัวคิดสมัยใหม่กลับตัวตอนนี้ยังทันนะ

    ถึงจะมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม(ที่หลายคนมองว่าเก่า) แต่ ชินโสะ อาเบะ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เขารู้จักฉกฉวยโอกาสและเลือกใช้วิธีการที่หลากหลายเข้ามาแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ จึงเกิดอะไรแผลงๆในการเมืองญี่ปุ่นไม่น้อย

    หากกล่าวถึงผู้นำท่านอื่นเปรียบเทียบกับชินโสะ อาเบะ คงต้องกล่าวว่า “อย่าเป็นนักอนุรักษ์นิยมโง่ๆ แต่จงเป็นนักอนุรักษ์นิยมที่ฉลาดที่หาแสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่เสมอ”


    โตเกียว โอลิมปิกกับการตื่นวัฒนธรรมอีกครั้ง

    การส่งไม้ต่อมายังโอลิมปิก โตเกียว ปี 2020ทำให้เราตื่นตกใจกับภาพของญี่ปุ่นอีกครั้ง ในมุมมองของคนนอกอาจแปลกตาจนฉงนมันไม่ใช่ของใหม่หรือการพยายามผลักดันวัฒนธรรมป๊อบ แต่มันคือการขายของตามปกติวิสัยของญี่ปุ่นจงอย่าตื่นตกใจกับสิ่งนี้ จงมองญี่ปุ่นจากภายในญี่ปุ่น แล้วคุณจะต้องพูดว่า “อ้าวมันแปลกตรงไหนกันวะ”

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in