เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
แว่นขยายเพลง k-popryeomook
วิเคราะห์ดนตรี เพลง Red Velvet - Queendom
  • The Summer Queen is Back

    สมการรอคอยกับบทเพลงต้อนรับฤดูร้อนจากน้องเค้กที่ห่างหายไปยาวนาน และก็ไม่ทำให้ผิดหวังเลยกับดนตรีที่จะพาทุกคนไปสู่โลกแห่งความสนุกสนาน สดใส เต็มไปด้วยสารพัดองค์ประกอบ ต้องยอมรับเลยว่าดนตรีของวงนี้ยังคงเป็นเลิศ เสียงประสานสุดแสนจะซับซ้อน แต่กลับฟังง่าย ย่อยไม่ยาก ติดหูทันทีนการฟังครั้งแรก บทความนี้เราจะมาแกะรายละเอียดต่าง ๆ ของเพลงกันดูว่ามีอะไรซ่อนอยู่บ้าง




    (อย่าลืมเปิดเพลงฟังควบคู่ไปด้วยนะ)


    Written By 조윤경 (Jo Yoon Kyung)
    Composed By Ellen Berg, Cazzi Opeia, Anne Judith Wik & 밍지션 (​minGtion)
    Arranged By 밍지션 (​minGtion)

    D Minor / F Major - 120 BPM


    • คอร์ดแรกของเพลงนี้เปิดมาด้วย D Minor ที่ทำให้ผู้เขียนฟันธงไปแล้วว่าเพลงนี้อยู่ในคีย์นี้เป็นหลัก เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ เกือบ 100% คอร์ดแรกของเพลงมักเป็นตัวบ่งบอก เป็นคอร์ดหลัก แต่พอฟังไปเรื่อย ๆ กลับเริ่มรู้สึกสับสนยิ่งกว่าเดิมว่าสรุปแล้วเพลงนี้มันกำลังเกิดอะไรขึ้น กว่าจะรู้สึกมั่นใจและสรุปทิศทางของเพลงนี้ได้จริง ๆ ก็รอจนจบท่อนฮุคแล้ว แต่พอผ่านไปอีกสักพักก็กลับรู้สึกว่ามันผสมปนเปกันไปหมดจนท้ายที่สุดก็ไม่สามารถบอกได้แน่ชัด ในปัจจุบันมีเพลงหลายเพลงมากที่สร้างความงุนงงให้กับผู้ฟังในเรื่องของการใช้คอร์ด ทำให้เพลงค่อนข้างมีความคลุมเครือ เมื่อเทียบกับเพลงป๊อปสมัยก่อนที่มักจะมีการกำหนดคีย์ของเพลงอย่างชัดเจน

    ตัวอย่าง เพลง Baekhyun - Candy มีการใช้คอร์ดที่สร้างความสับสนว่าสรุปแล้วเพลงนี้อยู่ในคีย์ G Major หรือ B Minor กันแน่



    • เป็น Intro ที่เริ่มต้นมาแบบสบาย ๆ  มีเพียงเสียง synthesizer 2-3 เสียงซ้อนกันบวกกับเบสที่เล่นโน้ตสวนทางกันไปมาในคอร์ดเดียวกัน นั่นทำให้เกิดมิติที่หลากหลาย จนมาถึงนาทีที่ 0:12 ซึ่งมีการส่งไปยังครึ่งหลังของ intro ด้วยการไล่เสียงขึ้นเป็นสเกล Chromatic หรือโน้ตที่ห่างกันแค่เพียงครึ่งเสียง ทั้งในแนวร้องและดนตรี มันทำให้ transition การเปลี่ยนผ่านตรงนี้เป็นไปอย่างลื่นไหลมาก ก่อนที่จะเริ่มมีเสียงเครื่องดนตรีเข้ามาทั้ง synthesizer ที่หนาขึ้นและเสียงเครื่องกระทบซึ่งน่าสนใจมาก เพราะเสียงที่มีลักษณะคล้ายกับ snare นั้นเล่นในจังหวะที่ล้อกันไปกับทำนองร้อง อาเยอาเย

    • 0:20 ก่อนเข้าสู่ verse แรกก็มีการเชื่อมต่อส่งผ่านกันโดยใช้ chromatic ที่ไล่กลับลงต่ำแทน นั่นทำให้อาจจะพอเดาอารมณ์ของเพลงได้ว่ามันน่าจะไปในทิศทางที่ซอฟต์ลงเนื่องจากไม่ได้มีการบิ๊วสร้าง tension แบบรอบก่อนหน้า

    • ท่อน verse เป็นไปตามคาดที่ดนตรีพาผู้ฟังกลับมาสู่ความผ่อนคลายจากการที่เครื่องดนตรีเหลือแค่เพียงเสียง synthesizer คล้ายเปียโนที่กดคอร์ดเพียงเบา ๆ มีเสียงเอฟเฟคที่หากใส่หูฟังจะได้ยินเสียงมาจากด้านหลังลอย ๆ และมีเสียงเคาะจังหวะคลอไปตลอด เสียงลงคอร์ดไม่ได้มาถี่มากนักแถมยังมีช่วงที่เป็นจังหวะ syncopation (จังหวะคร่อม) ส่วนเสียงเคาะจังหวะก็ลงทุกจังหวะที่ 2 กับ 4 มันทำให้เพลงมีฟีลที่คล้ายกับเพลงแจ๊ส อยู่ในจังหวะคล้ายกับสวิงเล็กน้อย ฟังสบาย เพลินมาก

    • ทำนองมีความหลากหลายเมื่อเทียบกับเพลง k-pop หลายเพลงในช่วงนี้ที่มักเน้นใช้โน้ตเพียง 1-3 ตัวเล่นย้ำซ้ำไปมาเพื่อเน้นให้ติดหูคนเป็นหลัก แต่เพลงนี้โน้ตกลับมีการดำเนินขึ้นลงไปมาในกรอบที่คนฟังไม่ได้รู้สึกว่ามากเกินไป แถมยังเป็นการนำทำนองจากช่วงต้นเพลงมาดัดแปลงทำให้ยังมีความรู้สึกที่คุ้นเคยอยู่ จนมาถึง 0:28 ที่โน้ตไล่กลับขึ้น มีเสียงประสานซ้อนเข้ามาเพิ่มความสวยงามเหมือนเป็นการบอกว่าเตรียมพร้อมนะ ความสนุกกำลังจะกลับมาแล้ว

    • ครึ่งหลังของ verse แรก เสียงเบสกลับมาอีกครั้ง พร้อมกับเสียง kick drum ที่ลงทุกจังหวะหนักคล้ายกับเสียงของหัวใจที่เต้นถี่รัว นั่นทำให้ท่อนนี้มีความแอคทีฟมากขึ้น ค่อย ๆ ไต่ระดับขึ่้นไปก่อนที่ช่วงสองจังหวะสุดท้ายดนตรีส่วนใหญ่จะดรอปหายไป มีเสียงเอฟเฟคที่เริ่มจากเสียงสูงไล่ไปต่ำ แพนจากฝั่งขวาไปฝั่งซ้ายเหมือนกับเวลาที่มีรถวิ่งตัดผ่านหน้าเราไปด้วยความเร็วสูง ฟิ้ววววว~




    • 0:38 Pre-Chorus เป็นอีกครั้งที่ดนตรีดรอปลงมากลายเป็นจังหวะที่เหมือนจะฟังสบายคล้ายกับช่วงต้น Verse เนื่องจากเสียงเครื่องดนตรีในช่วงเสียงต่ำหายไปหมดเลย ฐานที่ถูกถอดออกไร้ซึ่งอะไรรองรับทำให้คนยฟังจะรู้สึกว่าเพลงมันค่อนข้างจะลอย ๆ แต่ในระหว่างนั้นกลับเต็มไปด้วยสารพัดเสียงเอฟเฟคที่ทั้งถี่เร็ว และแหลมสูง เรียกได้ว่าถ้าฟังดัง ๆ ก็มีแสบหูเลยทีเดียว เสียงเหล่านี้มันคีพให้เพลง intense ไม่แผ่วลงจนเกินไป

    • แนวเปียโนในท่อนนี้น่าสนใจมาก การไล่โน้ตกลับไปกลับมาในจังหวะ syncopation ที่ช่วยเสริมให้เพลงที่ผ่อนคลายเกิดความตึงเครียดขึ้นมาจากจังหวะที่คร่อมกันย้ำ ๆ ตัวคอร์ดเองก็ค่อนข้างจะย่ำอยู่กับที่ ไม่ได้มีการเปลี่ยนคอร์ดไปแบบช่วงก่อนหน้า คนฟังอาจจะรู้สึกได้เลยว่าสิ่งที่เราคาดเดาไว้ สิ่งที่คิดว่าน่าจะได้ยินมันไม่เกิดขึ้น พอบวกกับการที่แนวร้องเป็น speaking-singing ที่ไม่ได้มีโน้ตแน่ชัด แค่เพียงปรับเสียงให้ไล่ขึ้นลงกับจังหวะที่หลากหลายมาก

    • ในช่วงครึ่งหลังของท่อน Pre-Chorus นี้เสียงเบสกลับมาอีกครั้งแม้จะไม่ได้โดดเด่นชัดเจนเท่าก่อนหน้าแต่ก็ค่อย ๆ ช่วยเสริมให้ดนตรีมันแน่นขึ้น องค์ประกอบที่เหลือเองก็มีการเร่งเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ ไปตลอดทางที่จะดำเนินไปสู่ท่อน chorus ในขณะที่แนวร้องชิลมากจนงงว่าใช่หรอมันใกล้จะถึงท่อนฮุคแล้วนะ เหลือเวลาไม่เยอะแล้ว รู้ตัวอีกที่ในนาทีที่ 0:50 อยู่ดี ๆ ทำนองกระโดดขึ้นไปร้องโน้ตตัว G# G พร้อมกับคอร์ดที่สุดแสนจะประหลาด มาจากไหนก็ไม่รู้ อ้าวเห้ย เหมือนถูกกระชากไปผิดทางก่อนที่จะกลับมาดำเนินในโน้ตในสเกลเดิมที่เคยถูกใช้อยู่แล้ว

    • อีกจุดที่ทำให้เพลงนี้มันค่อนข้างงุนงงสับสนสำหรับผู้เขียนคือการที่โน้ตส่วนใหญ่มักระเริ่มและจบที่โน้ตตัว A แม้กระทั่งโน้ตตัวสุดท้ายของท่อน Pre-Chorus ซึ่งโน้ตตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของทั้งคีย์ F Major และ D Minor หากแต่ว่าไม่ว่าจะอยู่ในคีย์หรือคอร์ดไหนก็ไม่ใช่โน้ตหลักเลย นั่นทำให้คนฟังอาจรู้สึกว่าโทนเสียงของเพลงนี้มันมีอะไรบางอย่างที่อาจจะไม่ได้เติมเต็มเรา 100% มันมักจะมีอะไรที่ขาดหายไปเล็กน้อยเสมอ

    • ห้องสุดท้ายของ Pre-Chorus นี้เจ๋งมาก การที่ดนตรีต่าง ๆ ดรอปหายไปหมดกลายเป็นความเงียบและนำเสนอทำนองงร้องพร้อมกับเสียงประสานจาก Background vocals มันน่าสนใจและแตกต่างจากเพลงหลายเพลงที่แม้จะมีการดรอปแต่ก็มักจะเป็นการไต่โน้ตขึ้น ลากไอโน้ต หรือใช้เสียงเครื่องดนตรีอื่นเข้ามาฉุดเราเข้าไปสู่ท่อนฮุค แต่เพลงนี้ไม่มีเลย ใช้เสียงร้องล้วน ๆ แม้แต่คอรัสเองก็เริ่มมาด้วยเสียงร้องที่ pick-up นำเข้าสู่ท่อนถัดไป ไม่ใช่เสียงเครื่องดนตรีอย่างเพลงอื่น ๆ น่าสนใจมาก


    • และแล้วเราก็ดำเนินมาถึงท่อนคอรัสที่ต้องบอกเลยว่าสิ่งที่โดดเด่นและกระแทกหูมาก่อนใครเพื่อนก็คือแนวเบสซึ่งได้กลายเป็นแนวดนตรีที่สำคัญมากในท่อนนี้ กลายเป็นว่าเบสมีความแอคทีฟ นำโน้ตที่ synthesizer เคยเล่นตั้งแต่ในช่วง intro กับ verse มาเล่นในจังหวะที่เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว มีความถี่ละเอียดจนทำให้เพลงกลายเป็นเพลงที่สนุก เร้าใจ ตื่นเต้น แตกต่างจากเพลงส่วนใหญ่ที่แนวแม้จะเสียงดังหนักแน่นแต่ก็มักจะเป็นสายซัพพอร์ต ไม่ได้มีการเล่นโน้ตที่ฉวัดเฉวียนมากขนาดนี้

    • แนวทำนองแล้วเสียง synthesizer ในช่วงเสียงสูงที่ซ้อนหลังอยู่นั้นเรียกได้ว่ายกเอาทำนองตลอดช่วงที่ผ่านมาร้องซ้ำทั้งหมด นั่นทำให้เราสามารถจดจำทำนองของเพลงนี้ได้อย่างแม่นยำมาก เพราะมันวนเวียนอยู่กับโน้ตและแพทเทิร์นแบบเดิม แต่ความเจ๋งคือการที่เราไม่รู้สึกเบื่อเลยแม้ว่ามันจะเป็นของเดิมที่ถูกนำเสนอซ้ำ ๆ นั่นเป็นเพราะองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นเบสที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างในนาทีที่ 1:00 เสียงรูดสายแค่สั้น ๆ ในแนวเบสก็สร้างให้เพลงนี้มันน่าตื่นเต้น ไม่น่าเบื่อเลย

    • นาทีที่ 1:10 เป็นการกระโดดจากโน้ต A4 ไปที่ F5 ซึ่งถือว่าเป็นคู่ interval หรือขั้นคู่เสียงที่มีความห่างค่อนข้างมาก มาในช่วงเวลาที่สร้างอิมแพคให้กับคนฟังได้อย่างเต็มที่หลังจากที่เราวนเวียนอยู่กับโน้ตชุดเดิมมาพักใหญ่ leap jump เป็นเทคนยิคที่ทำให้คนฟังรู้สึกเหมือนนั่งโรลเลอร์โคสเตอร์ เหมอืนถูกเหวี่ยงขึ้นไปที่สูงด้วยความรวดเร็วอย่างไม่ทันตั้งตัว เราหลุดออกจากโลกเดิมเพื่อเตรียมตัวตกลงไปสู่โลกหลังกำแพงอีกฝั่งนึงที่ไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรกำลังรออยู่

    • Chorus ที่ถูก extended ยืดต่อให้ยาวขึ้นเป็นสิ่งที่เดี๋ยวนี้จะค่อนข้างเป็นที่นิยมมากกว่าการใส่มาเป็นเพียง post-chorus สั้น ๆ ที่ช่วยในการบิ๊วอารมณ์ได้ไม่เท่า ในท่อนนี้จากดนตรีต่าง ๆ ที่เคยแน่นอยู่แล้วก็เหมือนถูกหมุนปรับ volume เร่งไปสูงสุดทั้งหมดโดยเฉพาะเสียง synthesizer ที่ถูกปรับให้มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง brass กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลืองที่โดดเด่น ดังออกมาอย่างชัดเจน จากที่เพลงนำเสนอความ jazzy ผ่านคอร์ดและจังหวะหลายอย่างมาโดยตลอด ตอนนี้ก็ได้เสียงทรัมเป็ตเข้าไปช่วยสร้างความจี๊ดจ๊าดเผ็ดร้อนให้ยิ่งคึกคักยิ่งกว่าเดิม

    • แนวร้องก็ยังคงร้องโน้ตเดิมซ้ำ ๆ อย่างไม่มีวันหยุด ไม่น่าเชื่อเลยว่าแพทเทิร์นโน้ตอันนี้จะถูกใช้ซ้ำมากมายขนาดนี้ เล่นเอาสงสัยเลยว่าต่อจากนี้มันจะไปในทิศทางเดิมแบบนี้หรือหลุดออกนอกโลกไปเลยกันนะ แต่ที่แน่ ๆ การเลือกใช้คำร้องที่ไม่ได้มีความหมาย แต่เป็นภาพจำที่น่าสนใจ ติดหู ร้องตามได้ง่าย นี่เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ซึ่งพบเจอได้ในแทบจะทุกเพลงของ Red Velvet ไม่ว่าจะเป็น dumb dumb, peekaboo, คำว่าบานานาน่าใน power up เป็นต้น

    • นาทีที่ 1:16 ช่วง transition อันนี้ไม่เคยซ้ำเดิมเลยตั้งแต่เริ่มเพลงมา ในรอบนี้แนวทำนองนำเสนอชื่อเพลงในจุดที่สร้างอิมแพคอีกเช่นเคยกับประโยค That's our queendom แถมทุกพยางค์ใช้โน้ตคนละตัวในช่วงเสียงที่มีความกว้างมากแต่ก็มีแพทเทิร์นการไล่โน้ตเป็นสเต็ปที่สวยงาม ส่วนแนวดนตรีบน synthesizer ก็ไล่เสียงเป็นร chromatic คล้ายกับรอบก่อน ๆ ส่วนเบสเล่นลงไปที่โน้ตซึ่งต่ำมากจนแทบจับไม่ได้ว่าเป็นเสียงโน้ตจตัวอะไร แต่ก็ทำให้ช่วงดนตรีตรงนี้มันเต็มไปด้วยพลังอันยิ่งใหญ่

    • ช่วงท้ายของท่อนฮุคนี่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเพลงจบแล้วเลยด้วยซ้ำ เพราะลงโน้ตจบเรียบร้อย ดนตรีค่อย ๆ ผ่อนคลายลงแทนที่จะเป็นการจบท่อนฮุคแบบจัดเต็มหนักหน่วงเหมือนกับเพลง ik-pop ส่วนใหญ่ แต่นี่ค่อย ๆ แผ่วลงจนดนตรีดรอปเงียบมากไปเป็นวินาที แล้วมีเสียงร้องไล่โน้ตลงอีก มันทำให้เรารู้สึกแปลกใจ แบบเห้ย เอางี้เลยหรอ มันได้หรอเนี่ย เกิดอะไรขึ้นอยู่กันแน่ กลายเป็นว่ามีการเพิ่มดนตรีตรงนี้ขึ้นมา 1 ห้องที่ยังกับว่ารถไฟเหาะที่นั่งมาตลอดจอดนิ่งสนิทอยู่ท่ามกลางความเวิ้งว้าง ก่อนที่เครื่องจะกลับมาสตาร์ทติด เสียง synthesizer เร่งความดังขึ้นเพื่อส่งเราเข้าสู่ Verse ถัดไป


    • กลับเข้าสู่ verse 2 ที่ดนตรีแทบจะคล้ายกับตอน verse 1 แต่เนื่องจากแนวทำนองหายไป ทำให้การเล่นคอร์ดของเปียโนมันละเอียดมากขึ้น เล่นโน้ตเพื่อเติมเต็มบางจังหวะที่อาจขาดหายไป ส่วนเสียงจังหวะเสียงสูง ๆ กลับเล่นห่างกันกว่าเดิมในปริมาณที่น้อยลงเท่าตัว แต่มีการเพิ่มเสียงกลองที่ลงทุกจังหวะ 2 กับ 4 แทน จะว่าไปก็อาจจะคล้ายกับการนำเสนอเสียงการเต้นของหัวใจที่สงบลงมาก

    • ทำนองที่หายไปถูกแทนที่ด้วยเสียงพูด/แร็พในจังหวะที่เนิบนาบ มีการใช้ triplets หรือสามพยางค์เพื่อทำให้เพลงรู้สึกว่าถูกยืดและขยี้มากขึ้น วงส่วนใหญ่หลังจากท่อนฮุคมักจะตามมาด้วยท่อนแร็พที่ดุเดือดเผ็ดมันส์เพื่อคงเอาไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกที่คนฟังจะไม่สามารถกดหยุดได้ ยังอยากจะฟังต่อ แต่หลายเพลงของ Red Velvet กลับต่างออกไปที่หลังจากฮุคแล้วก็ชอบตามมาด้วยแนวดนตรีที่ไม่หนักเกิน ทำนองร้องก็จะไม่ได้หนักแน่นหรือถี่เร็วรัวราวกับสาดกระสุน มันเป็นท่อนที่ให้ความรู้สึกชิลและผ่อนคลายเพื่อเตรียมตัวจะไปสนุกกันอีกครั้ง

    ตัวอย่าง เพลง Red Velvet - Bad Boy นาทีที่ 1:30

    ตัวอย่าง เพลง Red Velvet - Psycho นาทีที่ 1:26

    เปรียบเทียบกับ
    ตัวอย่าง เพลง NCT 127 - Kick It นาทีที่ 1:33 แนวแร็พมีความหนักแน่น ตามด้วยแร็พที่ถี่รัวเร็ว

    ตัวอย่าง เพลง EXO - Obsession นาทีที่ 1:11 แร็พทั้งหนักแน่นและเร็วมาก


    • 1:35 มีเสียงโน้ตไล่ลงกรุ๊งกริ๊งน่ารักมาก ช่วยเสริมให้ท่อนนี้ที่มันฟุ้ง ๆ มีได้หนักมีจังหวะที่ชัดเจนมีความเป็น fairy tale มากขึ้นไปอีก เป็นมู้ดที่ช่างแตกต่างจากท่อนฮุค

    • 1:36 ทำนองเปลี่ยนจาก verse ก่อนหน้าอีกเช่นเคยยังกับว่าเป็นคนละเพลง ต่อให้ดนตรีจะเหมือนเดิมก็เถอะ แพทเทิร์นที่ก่อนหน้านี้เคยมีมาโดยตลอดหายไปอย่างไม่ทิ้งฝุ่นจนแทบจะลืมไปแล้ว เป็นสิ่งที่ชื่นชมคนแต่งมาก ไม่น่าเชื่อว่าเขาจะทำให้เรารู้สึกสนุกกับความแปลกใหม่นี้แต่ในขณะเดียวกันก็โหยหาอะไรแบบเดิม ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงทางใจ โดยทำนองการร้องแบบ speaking-singing นี้ก็เน้นไปที่ triplets เมื่อฟังแล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับว่าเพลงมันอืดช้าลง

    • พอนาทีที่ 1:40 ต้องบอกเลยว่าแอบตกใจ ไม่คิดว่าจะปรับเสียงต่ำลงมา กลายเป็นจากเสียงที่เหมือนจะไม่มี pitch กลับเป็นมี pitch เสียงตัวโน้ตที่สร้าง harmony หรือเสียงประสานที่ไพเราะ แถมถ้าสังเกต ในทุกประโยคจะมีเสียงที่ร้องสะท้อนกลับสองคำสุดท้ายราวกับว่าเป็น conversation ที่ถามตอบกันอยู่ ตอนท้ายเอาอีกแล้ว กระโดดขึ้นไปร้องโน้ตสูงแล้วไล่ลงมาในขณะที่ดนตรีเงียบไป ดูดิ ภายในไม่กี่วินาทีจะทั้งร้องทั้งแร็พและสารพัดวิธีการนำเสนอเสียง เล่นเอาปวดหัวเลยนะ ลืมไปหมดสิ้นแล้วว่าก่อนหน้านี้เคยเกิดอะไรขึ้นบ้าง

    • กลับเข้าสู่ Pre-Chorus ที่รอบนี้มีการเพิ่มเสียงเบสมาเบา ๆ ที่ถ้าใส่หูฟังจะได้ยินอย่างชัดเจนเลยว่าเสียงมันจะมาทุกจังหวะยก (จังหวะ และ ที่อยู่ระหว่าง 1 2 3 4) แถมเป็นเสียงที่ถูกบีบปรับให้มันเหมือนกับสไลด์วูบวาบไปมา สร้างความตื่นเต้นให้ท่อนนี้ได้มากเลย ก่อนที่จะตกใจกว่าเดิมอีกเพราะท่อนพรีคอรัสรอบนี้ถูกตัดเหลือเพียงครึ่งเดียว สั้นกว่ารอบก่อนหน้าไป 4 ห้อง อ้าว ยังไม่ทันรู้สึกว่าตัวเองกลับมาอยู่ในจุดที่มั่นคงพอเลยจะไปต่ออีกแล้ว รถไฟเหาะชัด ๆ เพิ่งกลับมาวิ่งตรง ๆ ได้แป๊บเดียวเจอตีลังกาอีกรอบโดยไม่ทันได้ตั้งตัวซะงั้น


    • เอาอีกแล้ว! หลังจากท่อน Chorus ช่วงแรกเราคาดหวังที่จะได้เจอกับ ลาดีดาดูปาปาดิดา อย่างที่ควรจะเป็น แต่เปล่าเลย กระโดดเข้าท่อน bridge แบบดื้อ ๆ นี่ก็เป็นอีกจุดนึงที่หลัง ๆ มาเห็นบ่อย คือการขยายท่อนฮุคให้ยาวขึ้นนั้นมักจะเกิดขึ้นในรอบที่สองมากกว่ารอบแรกเพื่อช่วงบิ๊วอารมณ์คนฟังที่เคยรู้สึกประมาณนึงให้ beyond ไปไกลกว่าเดิม แต่อันนี้กลับถูกขยายตั้งแต่ครั้งแรกแล้วตัดออกในรอบที่สอง ราวกับว่าต้องการแกล้งคนฟังเลย


    ตัวอย่าง เพลง SuperM - Tiger Inside นาทีที่ 0:46 และ 1:43 ท่อนฮุครอบที่สองมีการขยายออกไปอีกเท่าตัวจากรอบแรก


    ตัวอย่างเพลง Taeyeon - Weekend นาทีที่ 1:06 และ 2:31 ท่อนฮุครอบแรกมีการขยายแต่รอบที่สองถูกตัดให้สั้นลงครึ่งนึง


    • เป็นการเข้าสู่ท่อน Bridge แบบไม่มีปี่มีขลุ่ยอย่างแท้จริง ไม่มีการเตรียมตัว ไม่มี transition เชื่อมต่อที่ชัดเจน แค่เหมือนกับว่ากระโดดตู้มลงไปเลย อาจจะเป็นเพราะทำนองร้องนั้นร้องนำมาก่อนเป็น pick-up นั่นทำให้ไม่มีการเบรคระหว่างท่อนอย่างชัดเจน แล้วแม้ว่าเสียง synthesizer ที่เคยมากันเป็นแผงจะถูกลดบทบาทลงไปเล่นแค่ลงคอร์ดสั้น ๆ แต่เสียงเบสและกลองต่าง ๆ ยังคงอยู่และหนักแน่นโดยเล่นเป็นโน้ตสั้นเช่นเดียวกันประสานกันไป ส่วนทำนองร้องก็กลายเป็นใช้แพทเทิร์นการเรียงโน้ตที่แตกต่างออกไปจากก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง แถมร้องอย่างหนักแน่นไม่ได้เป็นท่อนโชว์ความสวยงาม lyrical อย่างที่หลายคนอาจคาดเดาให้ bridge เป็น คาดเดาไม่ได้เลยจริง ๆ

    • 2:14 เป็นท่อนเชื่อมต่อระหว่างกลางที่ก็ยังคงยืนยันจะเปลี่ยนโน้ตอีกเช่นเคย โดยในรอบนี้เป็นการร้องโน้ตวนสองตัวซ้ำเพื่อเป็นการตอกย้ำแล้วไล่ต่ำลงสวนทางกับเสียงเบสไล่ขึ้นเป็น chromatic ด้วยจำนวนโน้ตที่มากขึ้นกว่าเดิม โอ๊ย เกิดอะไรขึ้น ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนไปหมดเลย

    • เอาสิ เมื่อกี้โน้ตไล่ลงกลับไปตัว F4 พอช่วงถัดมานาทีที่ 2:16 ทำนองปีนขึ้นสูงไปร้องถึงตัว D5 เป็นอีกครั้งที่มีการกระโดดข้ามขั้นคู่ความห่างเสียงที่กว้าง สร้างความแปลกใจให้กับคนฟัง ทำนองไล่เรียงต่ำลงเพื่อเตรียมตัวไล่กลับขึ้นอีกครั้ง แต่ต้องยอมรับเลยว่างงมากที่เลือกจะไปจบโน้ตตัวสุดท้ายที่ตัว C มันให้ความรู้สึกครึ่ง ๆ กลาง ๆ เหมือนกับว่าควรจะไปได้สูงกว่านี้อีกเนื่องจากมันไม่ใช่โน้ตที่จะใช้ lead ส่งเข้าหาคอร์ด D Minor ซึ่งเป็นคอร์ดหลักของท่อนฮุค มันควรจะต้องเป็น C# มากกว่า แต่เพลงนี้ก็เต็มไปด้วยโน้ตตัว C  (bVII) ที่ทำให้เรารู้สึกสับสนกับ F Major... แต่ก็นะ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการใช้ไฮโน้ตประหลาดในเพลงของ Red Velvet

    ตัวอย่าง เพลง Red Velvet - Power Up นาทีที่ 2:40 มีการใช้โน้ตนอกคอร์ดเพื่อส่งเข้าท่อนฮุค ซึ่งคนแต่งทั้งสองนี้เพลงคือคนเดียวกัน


    • ช่วงท้ายของท่อน Bridge มีการบิ๊วอัพทั้งเสียงดนตรีที่ดังขึ้นรวมไปถึงบีตต่าง ๆ ที่ค่อย ๆ เร่งถี่ขึ้น จนไปถึงจุดที่สูงที่สุดแล้วก็ดับวูบหายไป เพลงถูกยืดออกไปอีก 1 ห้องเพลงโดยที่เหลือไว้เพียงเสียงร้องลากและเสียง synthesizer เล่นไล่โน้ตลงเบา ๆ คลอ เอาให้คนฟังกลั้นหายใจกับการรอคอยการกลับมาอีกครั้งของท่อนฮุคที่ในรอบนี้มั่ยใจได้เลยว่าจะเป็นท่อนส่งท้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

    • แล้วก็ใช่เลย Chorus รอบสุดท้ายนี้เต็มไปด้วยแนวร้องแอดลิบที่ไล่สเกล D และ F ขึ้นลงไปมาเต็มไปหมด ไหนจะแนวเบสที่แม้จะเล่นคล้ายเดิมแต่ก็มีการเล่นโน้ตในช่วงเสียงที่กว้างและหลากหลายกว่าฮุคก่อน ๆ ยิ่งพอเข้าสู่ครึ่งหลังของท่อนฮุคที่กลับมาอีกครังให้ผู้ฟังทุกคนได้รู้สึกสบายใจ รอบนี้มีการเพิ่มแนวแอดลิบที่เน้นย้ำโน้ตหลักของเพลงทั้งสองตัว F และ D ในช่วงเสียงที่สูงและดังชัดออกมามากกว่าแนวร้องอื่น ๆ ดนตรีทุกอย่างจัดเต็มเพื่อเป็นการส่งท้ายให้กับงานเฉลิมฉลองอย่างสมพระเกียรติของพระราชินี ก่อนจะจบลงท้ายด้วยการไล่กลับลงมาหาโน้ตตัว D จบลงอย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่จำเป็นต้องมีแม้แต่ Outro




      - จบเพลง -




      โครงสร้างของเพลง Queendom

      INTRO                          0:06-0:21

      VERSE 1                       0:22-0:38

      PRE-CHORUS              0:38-0:53

      CHORUS                      0:54-1:26

      VERSE 2                       1:26-1:44

      PRE-CHORUS              1:44-1:52

      CHORUS                      1:52-2:08

      BRIDGE                       2:08-2:26

      CHORUS                      2:26-2:59



      บทสรุป


      เป็นอีกครั้งนึงที่เพลงนั้นแสนจะสั้น มีความยาวไม่ถึง 3 นาทีเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าขาดเหลือเลยสักนิด การฟังเพลงควีนด้อมเหมือนกับการเดินทางบนรถไฟเหาะที่เดี๋ยวขึ้นลง หักเลี้ยว ตีลังกาแบบที่เราไม่สามารถคาดเดาอะไรได้ ความรู้สึกเหล่านี้ล้วนเกิดจากการกระโดดไปมาของโน้ตในคู่เสียงที่ห่างมใากกว่าปกติที่เราคุ้นชินโดยไม่ทันได้ตั้งตัว หรือการที่เพลงในบางช่างก็เปลี่ยนแปลง แปลกไปจากที่คาดเดามากจนทำให้เราเขวไปเลยก็มี ไหนจะความน่าตื่นเต้นตลอดทุกเสี้ยววินาทีของการเปลี่ยนท่อน

      แต่บางช่วงของเพลงเมื่อได้ฟังก็รู้สึกอินฟินกับมันมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงที่เราคุ้นเคย การนำโน้ตทำนองที่คุ้นหูกลับมาบรรเลงใหม่อีกครั้งเมื่อได้ฟังก็รู้สึกสบายใจราวกับว่าเป็นช่วงที่รถไปเหาะวิ่งตรง ๆ ให้เราได้ทอดสายตามองวิวรอบข้างอย่างเพลิดเพลินบ้าง



    เรื่องดนตรี Red Velvet ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง





    อ่านจบแล้วอย่าลืมกดดู MV เพลง Queendom อีกรอบด้วยนะ!



    • อ่านบทความวิเคราะห์ดนตรีเพลงอื่น ๆ Click
    • อ่านบทความความรู้เรื่องดนตรีในวงการ K-pop Click
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
hpikic3si (@hpikic3si)
https://www.imdb.com/list/ls517685121/
https://www.imdb.com/list/ls517685102/
https://www.imdb.com/list/ls517685726/
https://www.imdb.com/list/ls517685710/
https://www.imdb.com/list/ls517685704/
https://www.imdb.com/list/ls517680499/
https://www.imdb.com/list/ls517680423/
https://www.imdb.com/list/ls517680436/
https://www.imdb.com/list/ls517680475/
https://www.imdb.com/list/ls517680244/
https://www.imdb.com/list/ls517680709/
https://www.imdb.com/list/ls517680543/
https://www.imdb.com/list/ls517680534/
https://www.imdb.com/list/ls517680559/
https://www.imdb.com/list/ls517680507/
https://www.imdb.com/list/ls517698457/
https://www.imdb.com/list/ls517698299/
https://www.imdb.com/list/ls517698269/
https://www.imdb.com/list/ls517698237/
https://www.imdb.com/list/ls517698798/
https://www.imdb.com/list/ls517698779/
https://www.imdb.com/list/ls517698702/
https://www.imdb.com/list/ls517698528/
https://www.imdb.com/list/ls517698531/
https://www.imdb.com/list/ls517699402/
https://www.imdb.com/list/ls517699295/
https://www.imdb.com/list/ls517699262/