เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจิปาถะD E A R
เบียร์สิงห์
  •                 เพื่อน ๆ เคยดื่มเบียร์กันไหมครับ บางคนอาจบอกว่าเคย บางคนบอกไม่เคย อายุไม่ถึงดื่มไม่ได้ จะคำตอบไหนก็ช่าง ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จักเครื่องดื่มชนิดนี้ และในที่นี้ผมจะพูดถึงเบียร์ยี่ห้อหนึ่งครับ นั่นคือเบียร์สิงห์นั่นเอง เรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่น้อยคนที่จะรู้ แม้แต่คนที่ชอบดื่มเบียร์ยี่ห้อนี้เองอาจไม่รู้ก็ได้
                    
                    เบียร์สิงห์ เบียร์ยี่ห้อหนึ่งของไทย ซึ่งผลิตโดย บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด บริษัทนี้ทุกก่อตั้งโดย พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) โดยพระยาภิรมย์ภักดีได้ลองดื่มเบียร์เยอรมันแล้วถูกใจ และคิดว่าน่าจะทำขายในเมืองไทยได้จึงได้ยื่นหนังสือขออนุญาตตั้งโรงกลั่นเบียร์แห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2473 โดยทางรัฐบาลไทยเองได้ออกใบอนุญาตให้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2476 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6 แสนบาท 
                    ในปี พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีก็ได้นำเอาเบียร์สดใส่ถังไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสรคณะราษฎร ปรากฏว่าเป็นที่พอใจกันอย่างมากจนข่าวได้แพร่สะพัดออกไป มีลูกค้าจับจองสินค้าออกสู่ตลาด จนได้จำหน่ายเบียร์รุ่นแรกเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 มีตรายี่ห้อต่าง ๆ กัน ทั้งตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาจึงค่อยๆ หยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป เหลือแต่เบียร์สิงห์ จนใน พ.ศ. 2510 เบียร์สิงห์ได้รับความนิยมมาก และกลายเป็นเบียร์ยี่ห้อเดียวของบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ และนั่นก็คือที่มาของเบียร์สิงห์ที่เราดื่มกันอยู่ทุกวันนี้      
                  
  • เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเบียร์ยี่ห้อนี้

    •  ครุฑ ทำไมถึงได้มีตราครุฑอยู่บนขวดเบียร์ได้   ตราครุฑตามธนาคารหรือบริษัทเอกชน ที่ทุกคนเคยเห็นกันนั้น ถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของบริษัทหรือองค์กรของไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการได้รับความไว้วางใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และฐานะทางการเงินที่ดี สำหรับบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑพ่าห์ พร้อมข้อความ "โดยได้รับพระบรมราชานุญาต" โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2482*


    • โลโก้  โลโก้ตราสิงห์ที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมีที่มาจาก 1 ในราชสีห์ 4 ชนิดของวรรณคดีไทยตามความเชื่อโบราณ "ราชสีห์" หรือ "สิงห์" เป็นสัตว์ที่มีความสง่า งามน่าเกรงขาม และมีพลังอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในป่าหิมพานต์ โลโก้สิงห์ที่ใช้ในปัจจุบันคือ "บัณฑุราชสีห์" (บัณฑรสีห์) ราชสีห์เหลือแต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นสีทอง



    แต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล ข้อมูลจุดนี้ยังไม่ชัดเจน ต้องขออภัยท่านผู้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
  • คุยกันท้ายตอน

                          เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เมื่อรู้ถึงประวัติของเครื่องดื่มที่เราคุ้นเคยกัน แต่เราคงไม่สังเกต หรือไม่สะกิดใจถึงที่มาของมันเลย ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมผมถึงเขียนเรื่องนี้ผมไม่มีสปอนเชอร์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากที่ไหนทั้งนั้นนะครับ ฮ่า ๆ ผมเองก็เคยทำงานอยู่ห้างร้านแห่งหนึ่ง ระหว่าที่ผมกำจัดของให้ลูกค้าอยู่นั้นผมเหลือบไปเห็นลังเบียร์ลังหนึ่ง บนลังมันเขียนว่า " The Orignal Thai Beer" เบียร์เจ้าแรกของไทย ข้อความนั้นมันสะกิดใจผมมากประกอบกับข้อความ ESTD 1933 แน่นอน เบียร์ยี่ห้อนั้นคือสิงห์ ผมก็ได้เริ่มค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อตอบสนองความสงสัยของผม ปรากฎว่า อืม จากแค่ประวัติเบียร์นั้นมันก็เชื่อมโยงไปอีกหลายเรื่องราวในประวัติศาสตร์อื่น ๆ อีกเยอะเลยนี่ แต่ ณ ที่นี้ไม่สามารถนำมาเล่าจนหมดได้ แต่ผู้ที่สงสัยอยากอ่านต่อก็ไปหาอ่านต่อได้ที่แหล่งอ้างอิงด้านล่างนะครับ สุดท้ายนี้ก็เหมือนเดิมครับ บทความนี้อาจยังมีข้อผิดพลาดอยู่ ผมก็ขอน้อมรับทุกคำติเตียนจาผู้อ่านเสมอ และขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน และถ้าถูกใจก็อย่าลืมแชร์ต่อนะครับ ขอให้ดื่มเบียร์ให้อร่อยครับ ฮ่า ๆ  ^^

    D E A R
  • แหล่งอ้างอิง

    ABOUT SINGHA.  (2561).  URL : http://www.singha.th/singha-story/about-singha

    HISTORICAL TIMELINE. (2561).  URL : http://www.singha.th/singha-story/historical-timeline

    เบียร์สิงห์. (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560). URL : https://th.wikipedia.org/wiki/เบียร์สิงห์

    บุญรอดบริวเวอรี. (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562). URL : https://th.wikipedia.org/wiki/บุญรอดบริวเวอรี

    พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร). (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562). URL : https://th.wikipedia.org/wiki/พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร)

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562).  URL : https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร. (แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562)  URL : https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in