เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
BookReadBookSuperSimple2
Book Review#1 The Subtle Art of Not Giving a F*ck – ชีวิตติดปีกด้วยศิลปะเเห่งการช่างเเม่ง
  • เป็นหนังสือที่อ่านจบไปในอาทิตย์นี้ ช่วงนี้เนื่องจากปิดเทอม รู้สึกว่างมาเลยพยายามที่จะอ่านหนังสือในได้อย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งเล่ม เพราะรู้สึกตัวเองไร้ประโยชน์มาก ปกติจะชอบปิดเทอมมากเลย เเต่ครั้งนี้เพราะว่าเราโตเเล้วกะละมัง มันเหมือนมีเเรงกดดันมากมายบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง อย่างน้อยก็เพื่อเป็นประโยชน์ มากกว่าที่ตอนนี้เป็นอยู่ เเต่ด้วยความที่ชอบ Comfort Zone หนักมากไม่กล้าออกไปไหนทำให้ และเราก็จะรู้สึกไม่ดีวนลูปอย่างนี้ไปเรื่อย เป็นวงจรที่อุบาทเเละเราเองก็รู้ตัวด้วย เอาเถอะยังไม่เข้าเรื่องหนังสือเลย

    **มีการกล่าวถึงเนื้อหาในหนังสือถ้าอยากอ่านเองก็อย่าอ่านเลยนา อนิจจัง**

    ชื่อหนังสือค่อนข้างจะทำให้เรารู้สึกว่าถ้าอ่านในที่สาธารณะจะต้องโดนคงมองเเน่เบยโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเเต่ภาษาไทยพอแปลมาเเล้วก็ไม่เเย่มากนะ ตอนเเรกรู้สึกว่าเเรงนิดหน่อยด้วยเเล เเต่คนสมัยนี้มันก็ต้องการประโยคดึงดูดเเบบ Clickbait หน่อยๆถึงจะสนใจสิเนาะ เหตุผลหลักๆของการช่างเเม่งเลยเนี่ย คือชีวิตเราเเคร์อะไรมากไป หนังสือเล่มนี้เค้าเลยบิกให้เราเเคร์ให้น้อยลง เลือกๆเเคร์หน่อยเท่านั้นเองง

    จะพูดเเบบคิดตื้นๆเลยคือเป็นหนังสือที่ดี เเต่อาจจะเพราะอ่านในช่วงที่สับสนเเละย้อนเเย้งในตัวเองอย่างที่เห็นพล่ามข้างบน จึงทำให้รู้สึกว่าสมองการอ่านการรับรู้ได้ตายไปข้างนึงนิดหน่อย เวลาอ่านเราก็จะรู้สึกว่านี่มีนน่าจะเป็นประโยชน์ในชีวิตเรานะเนี่ย เเต่จะโทษความว่างเปล่าของสมองเลยทำให้เรารู้สึกว่ามันไม่ค่อยเข้าหัวซักเท่าไหร่ เเต่โดยหลักๆเเล้ว หนึ่งในทฤษฎีที่คุณ Mark Manson เขาคิดขึ้นมาเนี่ยคือ

    การที่เราโหยหาความคิดเชิงบวกนั้น จริงๆเเล้วเป็นความคิดเชิงลบ เเต่ในทางกลับกัน การยอมรับความคิดเชิงลบของตนเอง กลับกลายเป็นความคิดเชิงบวก

    คนอ่านจะงงไหมนิ ยกตัวอย่างเช่น เราอยากสวยซึ่งเป็นการโหยหาความคิดเชิงบวก มันบอกเราว่างั้นตอนนี้เราก็กำลังมองตัวเองว่าเราไม่สวยอยู่นะสิ ซึ่งมันนก็จะสร้างเเต่ความทุกข์เพราะมันเป็นการตอกย้ำว่าเรายังสวยไม่พอ ยิ่งเราอย่างได้อะไรในทางบวกมันเป็นการตอกย้ำว่าเรายังขาดมันอยู่น่ะสิ ตรงกันข้ามกับการที่เรายอมรับความคิดเชิงลบ ถ้าเรายอมรับว่าเราล้มเหลว มันก็มีโอกาสที่เอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนไงล่ะ

    เรื่องของการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ โดยเขากล่าวว่าทุกอย่างที่เราทำมันก็เป็นผลจากการตัดสินใจทั้งนั้นเเหละ ถึงเเม้ว่ามันจะดูเป็นธรรมชาติเเค่ไหนก็ตาม เราจะต้องรับผิดชอบกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นถึงเเม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นคนทำให้มันเกิดก็ตาม โดยเฉพาะเรื่องทางลบ อย่างเช่น แฟนนอกใจ เราก็ฟูมฟายมัวเเต่โทษเเฟนว่า เธอทำให้ฉันต้องเจ็บปวด คือทางเเก้ก็คือยอมรับมันนั่นเเหละ ถึงเเม้ว่าเเฟนจะทำให้เราเจ็บ เเต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยเเก้ไขเราได้นี่ เค้าก็ไปอยู่กับเเฟนใหม่นู่น เรานี่เเหละที่จะต้องรับผิดชอบตัวเอง ไม่ว่าทางนั้นจะเป็นการเศ้าฟูมฟายไปเป็นเดือน หรือหยุดซักพักเเล้วก็คิดได้นั้นเเล ทุกอย่างไม่ว่าเราจะนิ่งเฉย หรือเเก้ไข มันก็เป็นทางเลือกที่เราเลือกเเล้วทั้งนั้น ถึงเเม้จะไม่รู้สึกว่าเราไม่ได้เลือกอะไรก็เถิด-นั้นก็เป็นทางเลือกเหมือนกัน(อันที่จริงมันก็เหมือนศาสนาพุทธเหมือนกันนะเนี่ย)นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของค่านิยม ถ้าเรามีค่านิยมที่ดี  มันก็จะนำไปสู่การเเคร์ในสิ่งที่สมควรจะเเคร์

    โดยเเต่ละตอนที่ Mark Manson ยกมานั้นจะมีการยกตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น(ซึ่งก็เป็นปกติของหนังสือ Self Help เนาะ) โดยตอนเริ่มต้นของเเต่ละบทจะมีเรื่องราวที่ดังๆเราก็น่าจะรู้จังเเต่ในมุมมองที่เป็นเหมือนมองถึงความรู้สึกของเค้าเเหละ  เเละบางครั้งทำให้เราย้อนกลับไปมองตัวเองได้ว่าเราก็เป็นอย่างนี้เช่นกัน ในหนังสือในตอนค่านิยม ชอบตอนที่เขายกตัวอย่างเรื่อง ความสัมพันธ์ของน้องที่มีต่อพี่ ในรูปแบบคำถาม ทำให้เราได้รับรู้ว่าสรุปแล้วอะไรคือค่านิยมของน้องที่มีต่อพี่เเละตัวชี้วัดนั้นคืออะไร ตรงส่วนนั้นเป็นครั้งเเรกที่ทำให้ผู้เขียนเข้าใจความรู้สึกกระบวนการทางความคิดของนักจิตวิทยาที่ชอบถามคำถามคนไข้เหมือนในหนังฝรั่งเลย

    ตอนท้ายประมาณรึ่งเล่มหลังรู้สึกอ่านเเบบเบลอๆไปหน่อยเพราะรู้สึกว่ามันก็เป็นสิ่งที่เรารู้สิ่งที่เราคิดอยู่เเล้วคิดไม่ได้รู้สึกเเปลกใหม่หรือว้าว อะไรมากนักรู้สึกไฮไลท์เเนวคิดใหม่จะอยู่ข้างหน้าๆหมดเลย เเต่นี่ก็เป็นเเค่ความคิดเห็นส่วนตัว อย่าพึ่งตัดสินเเล้วไปอ่านเองก็เด้อ เเต่ถ้าอ่านเเล้วรู้สึกยังไงก็มาคุยกัน ถ้ามีคนอ่านอ่ะนะ จุบุจิบิ

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in