เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เล่าJacelyn_D
ความฝันของชายผิวดำ
  • Disclaimer: ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อการเล่าเรื่องเท่านั้น เนื้อหาในบทความอาจไม่ตรงตามประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัด ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาต่ดยอดได้โดยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่งหาก เล่า เกิดความผิดพลาดต่างๆ ขอบคุณทุกท่านที่ผ่านมารับชมค่ะ



             เมื่อความแตกแต่งไม่อาจอยู่ร่วมเป็นหนึ่งในดินแดนเสรี การต่อสู้ของชายผู้มีความฝันว่าสักวันหนึ่ง คนทุกชนชาติ ทุกเพศ ทุกศาสนาและทุกวัย จะได้นั่งลงบนโต๊ะกินข้าวตัวเดียวกัน



    "I Have A Dream."


              ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King) เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2472 หรือ ค.ศ. 1929 ในเมืองแอตแลนตา (Atlanta) รัฐจอร์เจีย (Georgia) ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) คิงเป็นศาสนาจารย์ของโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ตามรอยปู่และพ่อของเขา เขาพูดถึงความฝันว่าวันหนึ่งลูก ๆ เขาจะได้ใช้ชีวิตในประเทศที่ผู้คนไม่ได้ถูกตัดสินเพราะสีผิว ฝันว่าวันหนึ่งความอยุติธรรมและการเหยียดเชื้อชาติจะหมดไป

    เรา "ต่างกัน"



                   ในช่วงที่ คิง เติบโตมีการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างคนผิวขาวและผิวดำตามกฎหมายที่รู้จักทั่วไป -กฎหมายจิมโครว์- คนผิวดำถูกแบ่งแยกออกจากคนผิวขาวทั้งในสถานที่สาธารณะและการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเข้าโบสถ์ โรงพยาบาล โรงละคร โรงเรียน ห้องน้ำ แม้กระทั่งในรถเมล์ คนผิวดำก็ถูกไล่ให้ไปนั่งคนละโซนกับคนผิวขาว ส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการออกกฎหมายแบบนี้ออกมาก็เพราะว่า หลังจากที่มีการเลิกทาส คนผิวดำก็ค่อยๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น จึงมีความพยายามจะแบ่งแยกคนผิวดำเพื่อไม่ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะที่เท่าเทียมกับคนผิวขาว


    จุดเริ่มต้น


                 โรซา พาร์ก หญิงผิวสีอายุ 42 ปี ขณะที่เธอขึ้นรถเมล์กลับบ้าน ระหว่างทางก็มีคนขาวขึ้นมา โชเฟอร์ผิวขาวสั่งให้เธอซึ่งนั่งแถวหลังสละที่ให้กับคนขาวตามกฎหมาย แต่โรซา พาร์กปฏิเสธที่จะให้ที่นั่งแก่เขา เป็นเหตุให้เธอถูกจับ การจับกุมในครั้งนั้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญ โดยมีการคว่ำบาตรไม่มีใช้บริการรถเมล์ในเมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละแบมา ยาวนานถึง 382 วัน นำโดยมาร์ติน ลูเธอร์ คิง โดยในวันที่ 21 ธ.ค. 1956 ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งบนรถโดยสารขัดต่อรัฐธรรมนูญ 
               ชัยชนะในวันนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอย่างสันติ ตามแนววิถีของคิงอย่างจริงจัง ที่ถึงเเม้ว่าระหว่างทาง จะต้องพบเจอกับอุปสรรค การพาคอบครัวของติงเข้าไปอยู่ในสนามรบ การโจมตี และการจับกุมมานับครั้งไม่ถ้วน ทว่านี่คือสัญญาณแรกที่ได้แจ้งให้คิงรู้ว่า ความเปลี่ยนแปลงและความฝันของเขาได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว 


    ทุกท่านที่มาในวันนี้ คือทุกท่านที่มีฝันเดียวกับเรา 


         "March on Washington" เหตุการณ์สำคัญของขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐฯ ผู้คนกว่า250,000 คนเดินทางมายัง อนุสรณ์สถานลินคอล์นที่กรุงวอชิงตัน เพื่อฟังคำปราศรัยของคิง และเหตุการณ์ในวันนั้นคือวันก่อเกิดคำปราศรัยที่โด่งดังที่สุดอันหนึ่งในประวัติศาสตร์ เเละยังเป็นการปูทางไปสู่การผ่านรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองในปี 1964 ที่กำหนดให้การเลือกปฏิบัติจากสีผิว, เชื้อชาติ, ศาสนา, เพศ หรือชนชาติกำเนิด เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

    “ I have a dream that one day on the red hills of Georgia, the sons of former slaves and the sons of former slave owners will be able to sit down together at the table of brotherhood.”


    ไม่อาจเห็นฝันเป็นจริง


         การอุทิศตนเพื่อเรียกร้องสิทธิความเป็นพลเมืองและความเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกสีผิว ทำให้ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1964 ก่อนจะถูกลอบสังหารในวันที่ 4 เมษายน1968 ที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี ขณะกำลังเดินทางไปช่วยพนักงานเก็บขยะประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่เท่าเทียม ซึ่งหลังจากการเสียชีวิตของเขา รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศให้วันจันทร์ที่ 3 ของเดือนมกราคมของทุกปีเป็นวันมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ เพื่อให้ประชาชนชาวอเมริกันได้ร่วมรำลึกถึงนักต่อสู้ผู้มีความฝันอันยิ่งใหญ่คนนี้
        ชายคนนี้ ผู้ต่อสู้เพื่อความฝันที่เขาเองก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะได้เห็นมันด้วยตาตัวเองหรือไม่ ทว่าเขาก็ยังสู้สุดกำลังเผื่อว่าความฝันของเขาจะสำเร็จในโลกนี้สักวัน

     . 

    .

    .

    “Free at last. Free at last. Thank God almighty, we are free at last.”


    อ้างอิง:








Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in