เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เล่าJacelyn_D
หนังรักที่เล่ามากกว่าเรื่องราวความรัก
  •           หากย้อนกลับไปในช่วง1950s ความรักระหว่างคนทั้งสองคนอาจจะไม่ใช่ปัญหาอะไรหากทั้งสองฝ่ายเป็นเพศตรงข้าม ทว่าเรื่องราวจะแตกต่างออกไปทันทีเมื่อความรักที่เกิดดันกลายเป็นความรักร่วมเพศ วันนี้จะมาพูดถึงภาพยนต์ที่ชื่นชอบเรื่องหนึ่งที่ได้แฝงนัยยะในเรื่องของความรักและสะท้อนสภาพสังคมอเมริกันที่ในขณะนั้นความรักเรื่องเพศเป็นสิ่งต้องห้าม


    Carol


              Carol หนังหญิงรักหญิง ที่ได้รับการดัดแปลงจากนิยายเรื่อง The Price of Salt ของ Patricia Highsmith ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1952 ซึ่งนักแสดงนำทั้งสอง Cate Blanchett และ Rooney Mara ต่างก็ประชันฝีมือทางการแสดงของทั้งคู่ จนได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมาแทบจะทุกสถาบันแล้ว รวมถึงออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงและสมทบหญิงยอดเยี่ยม 


            ภาพยนต์เรื่องนี้ ไม่ใช่ภาพยนต์ที่กล่าวออกมาโต้งๆว่านี่คือ หนังเลสเบี้ยน แต่เป็นหนังที่แสดงให้เห็นถึงความรักระหว่างมนุษย์ทั้งสองคน ที่ครบรส อร่อยคลุกน้ำตา อีกทั้งยังตอกย้ำแผลในใจที่ไม่อาจจะเอ่ยคำรักออกมาให้ใครได้ยิน เพราะในสังคมที่คนหมู่มากยังไม่ยอมรับ same-sex relationship หรือแม้แต่ผู้หญิงเองก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติให้เท่าเทียมกันกับผู้ชาย


    Sexual Stereotype


              Sexual Stereotype ทัศนคติแบบเหมารวมเชิงเพศที่เชื่อว่าใครต่อใครที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกันก็จะเป็นเหมือนกันหมด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติต่อเรื่องเพศ เช่น ของขวัญสำหรับเด็กแรกเกิด “ผู้หญิง” มักจะถูกแทนด้วย “สีชมพู” ส่วน “ผู้ชาย” คือ “สีฟ้า” เฉกเช่นเดียวกับ แครอล ในฉากแรก ที่เดินเข้ามาซื้อของขวัญให้กับลูกสาวของเธอ โดยเธอเลือกที่จะซื้อ ตุ๊กตาให้กับลูกสาวของเธอ เราจะเห็นได้ว่าเธอเองก็ยังมีแนวคิดที่ว่า เด็กผู้หญิงต้องเล่นตุ๊กตา 


    Age Gap


             ระยะห่างของอายุทั้ง แครอล ที่เป็นหญิงวัยกลางคนที่เคยแต่งงานและมีลูกสาวตัวน้อยหนึ่งคน แต่ก็ยังคงต้องการความรักให้เข้ามาเติมเต็ม และ เทอรีส สาวน้อยย่างเข้าวัยทำงานที่กำลังค้นหาตนเอง และต้องการความมั่นคงในชีวิต ความรักของคนสองคนนั้นไม่เกี่ยวข้องกับอายุ ตราบใดที่ทั้งสองคนนั้นมีความเข้าใจกันและกัน และสามารถเติมเต็มความรักให้แก่กันได้อย่างสมบูรณ์ 



    เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในสังคมชาย


            แครอล แม้จะแต่งงานมาเป็นสิบปีแล้ว สุดท้ายแล้วก็ยังคงต้องวนเวียนอยู่กับสังคมของสามีของเธอและยังต้องทำตามขนบธรรมเนียมต่างๆนานาตามที่พ่อแม่ของสามีเธอต้องการ ไม่ต่างอะไรจากเทอรีส ที่แม้เลิกงานแล้วก็ยังต้องมานั่งร่วมวงสังสรรค์กับแฟนของเธอ


    ความรักที่ไม่อาจเปิดเผย


              คริสตมาสที่ทั้งสองเลือกที่จะละทิ้งเวลาที่จะใช้กับครอบครัว แล้วออกเดินทางไปพร้อมกัน ออกเดินทางไปยังที่ๆไม่มีใครรู้จักพวกเธอ แม้จะออกไปไกลแค่ไหน ค่านิยมเรื่องการรักร่วมเพศนั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในความคิดของคนในสังคมอยู่ดี ฉะนั้นเราจึงได้เห็นว่า แครอลและเทอรีสทำได้เพียงแสดงความรักต่อกันบนรถกลางท้องทุ่งที่ไร้ซึ่งผู้คน ในโรงแรมเล็กๆที่ในห้องเต็มไปด้วยกลิ่มน้ำหอมของอีกคน ในสายโทรศัพท์ที่ส่งไปไม่ถึงอีกคน 


    ความรักที่ดีต้องส่งเสริมกันและกัน 


         แม้ในบทภาพยนต์จะมีการดัดแปลงอาชีพที่เทอรีสใฝ่ฝันอยากจะทำ ทว่ามีสิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิม นั่นคือการที่แครอลสนับสนุนเทอรีสให้เธอได้ทำในสิ่งที่เธออยากทำ ในบทภาพยนต์เราจะได้เห็นแครอลที่ซื้อกล้องฟิล์มมาให้เทอรีสเป็นของขวัญ อีกทั้งยังเป็นตัวแบบให้เทอรีสได้ศึกษาความเป็นมนุษย์จากตัวของแครอลมากยิ่งขึ้น

    “A friend of mine told me I should be more interested in humans,”


    บทส่งท้าย


             ในฉากสุดท้ายของตัวภาพยนต์และในนวนิยายล้วนแล้วบรรยายตอนจบออกมาเหมือนกัน นั่นคือการปล่อยให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้ไปต่อยอดจินตนาการกันต่อว่าบทสรุปแล้วความรักของทั้งสองนั้นลงเอยเช่นไร ทั้งสองยังครองรักกันต่อไปหรือไม่ ปล่อยให้หัวใจของเราเป็นคนตัดสิน



    "My Angel, Flung out of space" 





                https://www.tumblr.com
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in