เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
วัดร้างในบางกอก By ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร
  •          รีวิวเว้ย (81) "วัดร้าง" ไม่เพียงแต่เป็นศาสนสถานที่มีแต่ซากปรักหักพัง หากแต่วัดร้างยังเป็นเสทือนพื้นที่ความทรงจำของชุมชนโบราณในย่าน "บางกอก" 


    หนังสือ : วัดร้างในบางกอก
    โดย : ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร
    จำนวน : 312 หน้า
    ราคา : 325 บาท

             เมื่อพูดถึงประเทศไทยกับเพื่อนต่างชาติ หลายคนมักจะนึกถึงอาหารไทยเป็นอย่างแรก ๆ เวลาที่เราถามเขาว่านึกถึงอะไรเวลานึกถึงประเทศไทย (?) แต่ทายุคหลัง ๆ พอเพื่อนต่างชาติของคุณมันแกร่งกล้าเรื่องเมืองไทยมากขึ้น มันมักจะเริ่มเกรียนเสมอ อย่างล่าสุดถามว่า

    ชัย : ชอบอะไรในไทย (?)

    ต่างชาติ : รัฐบาลทหาร

             ในความรับรู้ของนักท่วอเที่ยวปกติทั่วไป สิ่งรับรู้เกี่ยวกับเมืองไทยนอกจากอาหารไทยแล้วก็คงมีเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวยามค่ำคืนในเมืองไทย รวมไปถึงวัดวาอารามที่งดงามอร่ามตา (ฉีกอารมณ์โคตร ๆ)

             เวลาที่ต่างชาติมาเมืองไทยตอนเช้า ๆ เขาก็จะเน้นการท่องเที่ยวไปที่ศิลปวัฒนธรรมไทย พอตกดึกก็จะเน้นไปที่ศิลปวัฒนธรรม ... (น่าจะรู้ ๆ กันอยู่) และเวลาที่ต่างชาติจะเที่ยวไทย ทำไมใคร ๆ ต้องแนะนำให้ไปเที่ยววัด (?)

             นั่นนะสิ ทำไมต้องวัด (?) อาจเป็นเพราะสถาปัตยกรรม สิ่งปลูกสร้างที่ดูแปลกตาน่าค้นหาทำให้วัดเป็นสถานที่เึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

             ส่วนคนไทยนะหรอ ไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องของสถาปัตยกรรมที่ดูแปลกตา แค่ดูว่าวัดไหนพระดัง หวยดี หลวงพี่เก่ง แค่นี้วัดก็เป็นที่นิยมของคนไทยอย่างง่ายดาย

             กลับมาที่เรื่องหนังสือ "วัดร้างในบางกอก" ดีกว่า ก็อย่างที่รายมายาวยืดกว่า 4 ท่อนด้านบนในเรื่องของวัด เป็นการสะท้อนให้เห็นว่างัดเหล่านั้นยังเป็นวัดที่มีพระ มีการใช้งาน มีผู้คนแวะเวียนเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กันตามหน้าที่ของวัด (ศูนย์กลางชุมชน) สมัยก่อน

             แต่ด้วยเวลาที่ผ่านมายาวนาน การขยายตัวของชุมชน สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำเจ้าพระยา การพัฒนาของเมือง การสงคราม น้ำท่วม ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางปฏิสัมพันธ์ของคนกับวัด และเมื่อเป็นเช่นนี้เราก็จะพบว่าวัดที่ขาดการปฏิสัมพันธ์จากคนในชุมชน (คน) วัดเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ หายไป หายในที่นี้คือหายจากการเป็นวัดในความรับรู้ และเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะของวัดล้างและในท้ายที่สุดก็จะถูกลบเบือนไปตามกาลเวลา

             สำหรับหนังสือ "วัดร้างในบางกอก" เป็นการออกตามหา สำรวจ ว่าวัดต่าง ๆ ที่เคยมีลันทึกเอาไว้ในแผนที่โลราณเมื่อ 100-200 ปีก่อน เหตุใดบางวัดจึงหายไปจากการทำแผนที่วัดในสมัยปัจจุบัน และวัดเหล่านั้นที่หายไป หายไปไหนหนอ (?)

             เมื่อเกิดความสงสัยดังกล่าว ดร.ประภัสสร์ จึงได้ทำการลงพื้นที่ นั่งรถเม เกินสำรวจไปตามชุมชนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อตามหาวัดโบราณที่มีมาเมื่อ 100-200 ปีก่อน จนกระมั่งพบเข้ากับวัดร้างโบราณจำนวนหนึ่ง และได้ทำการบันทึกเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของวัดร้างเหล่านั้นผ่านเอกสาร ผ่านสถาปัตยกรรมที่ยังคงหลงเหลือในวัด อีกทั้งผ่านความทรงจำของผู้คนที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้นกับวัดเหล่านี้ ในท้ายที่สุดจึงได้กลายเป็นวัดร้าง ทั้ง ๆ ที่บางวัดถือได้ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก

             หากอย่างรู้ว่าเหตุใดวันที่เคยมีพระจึงร้าง ทั้งที่เคยเป็นศูนย์กลางของการปฏิสัมพันธ์ของชุมชน เหตุใดวันหนึ่งจึงถูกทิ้งให้ร้าง ถ้าสงสัยเชิญเปิดหน้าต่อไปได้เลยครับ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in