เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
Aging society ชาญชรา By วรเศรม์ สุวรรณระดา
  • รีวิวเว้ย (190) มีใครสักคนเคยบอกเอาไว้ว่า "อายุเป็นเพียงตัวเลขที่เพิ่มขึ้น" ซึ่งมันก็คงจริงตามที่ใครคนนั้นบอก แต่สิ่งหนึ่งที่ใครคนนั้นลืมบอกไปอีกอย่าง คือ เมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้นแล้ว อะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิตจะเพิ่มขึ้นและลดลงไปตาม ๆ กัน เช่น สายตาที่ยาวมากขึ้น สุขภาพที่แย่มากขึ้น เข่า-ข้อที่แย่ลงกว่าตอนตัวเลขอายุน้อย ๆ รวมไปถึงการบริหารจัดการชีวิตที่มันดูจะย่ำแย่ลงไป พร้อม ๆ กับเงินในบัญชีที่ค่อย ๆ ลดลงไปตามตัวเลขอายุ 
    หนังสือ : Aging society ชาญชรา ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา
    โดย : วรเศรม์ สุวรรณระดา
    จำนวน : 134 หน้า
    ราคา : 100 บาท

              ปัญหาอย่างหนึ่งที่โลกกลม ๆ ใบนี้กำลังเผชิญ คือ เรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขนาดใหญ่ของสังคมโลก จากสังคมของคนหนุ่มสาวที่สามารถขับเลื่อนสังคมและโลกใบนี้ได้แบบพอถูไถ กลายหลับไปเป็นสังคมของผู้สูงวัยที่นับวันยิ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้น ๆ จนสร้างความตระหนกตกใจต่อเรื่องของโครงสร้างการทำงาน และโครงสร้างประชากรในระดับโลก ที่แทบทุกประเทศกำลังเผชิญ

             ปัญหาประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น อัตราการเกิดลดลง จำนวนผู้ใช้แรงงานน้องลง ส่งผลหลาย ๆ ด้านต่อการขับเคลื่อนโลกกลม ๆ ใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมือง อุตสาหกรรม เรียกได้ว่าในทุกภาคส่วนของสังคม กำลังขาดกำลังแรงงานในการขับเคลื่อนกลไกกิจกรรมบางประการ อันเป็นผลมาจากโครงสร้างประชากร ที่เรากำลังมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น วัยแรงงานลดลง พร้อมทั้งอัตราการเกิดที่ต่ำแสนต่ำ

             ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคงหนีไม่พ้นตัวอย่าง อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ผู้ใช้แรงงานลดลง ทำให้ญี่ปุ่นต้องหาวิธีการจัดการปัญหาในหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี ให้มีความทันสมัย เพื่อนไมาเป็นกลไกในการแก้ไขในเรื่องของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังได้ทำการศึกษา ปรับตัวและเตรียมตัวรับมือในเรื่องของการลดลงของประชากรวัยแรงงาน และการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในแทบทุกด้าน มาเป็นเวลาเนินนานหลาย 10 ปี

             สำหรับประเทศไทยเองนั้น เราก็ก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุนับตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี พ.ศ. 2575 เราน่าจะมีประชากรผู้สูงวัยทั้งสิ้น 30 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ

             เรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงวัยในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า คือ การได้รับรู้ว่าหน่วยงานราชการ ภาครัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงหาทางออกกันไม่ได้ว่าจะเอาอย่างไรดีกับปัญหาดังกล่าว นอกจากเอาไปซื้อเรือดำน้ำ ซื้อเครื่องบิน ฯลฯ

             "Aging society ชาญชรา ก้าวสู่สังคมสูงวัยด้วยความรู้และปัญญา" เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นมาจากการย่อยงานวิจัยของ สกว. ให้กลายเป็นหนังสืออ่านเล่นสนุก ๆ ที่อ่านง่าย ๆ และได้ความรู้ รวมถึงชวนพวกเราตั้งคำถามต่อการเตรียมการรับมือปัญหาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเป๋นการเผยแพร่งานวิจัย ที่หลายคนมักมีคำตำหนิติติงมาว่า "อ่านไม่รู้เรื่อง" แต่มาคราวนี้ สกว. ได้ทำให้งานวิจัยที่ได้รับงบวิจัยของ สกว. สามารถเผยแพร่ออกสู่สังคมได้อย่างน่าสนใจ ด้วยรูปเล่มที่กระทัดรัด เนื้อหาที่ถูกปรับแก้ให้ลดความเป็นภาษาวิชาการลงไปส่งผลให้อ่านง่านและอ่านสนุกมากขึ้น

              นอกจากนี้อ่านแล้วยังได้ตั้งคำถาม พร้อมทั้งหาคำตอบของปัญหาให้กับตัวเองไปในตัว โดยเฉพาะปัญหาใหญ่ ๆ อย่างเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ หากเราไม่เตรียมการกันตั้งแต่ตอนนี้ และละเลยปัญหา มองผ่านมันไป อีกไม่นานเราอาจจะได้พบกับจุดจบของสังคมไทยในไม่ช้า (เนื่องจากว่าเรามัวไปซื้อเรือดำน้ำกันอยู่)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in