เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
วิธีการเดินทางกับแซลมอน By Umberto Eco แปล นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
  • รีวิวเว้ย (189) "อารมณ์ขัน" เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกัน ยิ่งเป็นอารมณ์ขันที่แสดงออกมาผ่านช่องทาง กลวิธีต่าง ๆ ด้วยแล้วยิ่งเป็ยเรื่องแตกต่างของคนแต่ละคนที่จะทำได้ อย่างพี่โน๊ต อุดม ก็มีความสามารถในเรื่องของการสร้างอารมณ์ขันผ่านทางการ "พูด" หรือดารา นักแสดง ตลก ฯลฯ ล้วนสามารถสร้างอารมณ์ขันผ่านการแสดงออกด้วยกริยาอาการได้เป็นอย่างดี แต่มันยังมีอารมณ์ขันอยู่อีกชนิดหนึ่ง ที่เราคิดว่ามันคือสิ่งที่ยากที่สุด หรือเป็นช่องทางที่อยากที่สุดของการนำเสนออารมณ์ขัน นั้นคือช่องทางของ "ตัวอักษร" แต่หนังสือเล่มนี้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือทลายกรอบความยากจองเรื่องดังกล่าว 
    หนังสือ : วิธีการเดินทางกับแซลมอน
    โดย : Umberto Eco แปล นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ
    จำนวน : 183 หน้า
    ราคา : 200 บาท

             หากจะพูดว่าการเขียนหนังสือให้คนอ่านเป็นเรื่องที่ยากแล้ว ปต่การเขียนหนังสือให้คนอ่าน คิดตามและรู้สึกมีอารมณ์ขันร่วมไปกับหนังสือเล่มนั้นยิ่งยากว่า และยิ่งเป็นหนังสือที่ต้องแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ด้วยแล้วยิ่งยากเข้าไปอีกที่ตัวอักษรของหนังสื่อเล่มนั้นจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ขันได้อย่างทรงพลัง

              "วิธีการเดินทางกับแซลมอน" ของ "Umberto Eco" เป็นหนึ่งในหนังสือที่สามารถทำได้ และทำออกมาได้ดีด้วย อาจจะด้วยความที่เป็นคนช่างสังเกต มีมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย รวมถึงมีรสนิยมการตั้งคำถามกับสิ่งต่าง ๆ ได้แตกต่างจากคนอื่น จึงทำให้งานเขียนของ Umberto Eco เล่นมี มีทั้งสาระ ความสนุก อารมณ์ขัน การตั้งคำถามชวนคิด ไปพร้อม ๆ กันในเล่มเดียว

             หลายครั้งที่เราคิดว่าเรื่องแบบนี้น่าจะมีแต่ที่ไทยเท่านั้น หรือเรื่องแบบนี้มีแค่ที่นี่ที่เดียว Umberto Eco ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า "มันไม่ใช่" หากจะให้นิยาม "วิธีการเดินทางกับแซลมอน" ด้วยคำไม่กี่คำ คำที่น่าจะเหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นคำว่า "แซะ" ที่หลายคนเคยคิดว่าวัฒนธรรมการแซะ มันต้องเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างเดียวเท่านั้น

              ซึ่ง Umberto Eco ได้ตอบคำถามของเราแล้วว่าไม่ใช่คนไทยเท่านั้นที่ชอบแซะ แต่คนทั่วโลกน่าจะมีรสนิยมชอบแซะ ชอบกวนตีนแบบนี้เหมือนกันแทบทั้งโลก และวัฒนธรรมดังกล่าวมันไม่ได้เพิ่งเป็น แต่ใันเป็นมาตั้งแต่ทศวรรษช่วงปี 1900 เป็นต้นมา (อิงจากปีของแต่ละบทในหนังสือ)

             "วิธีการเดินทางกับแซลมอน" ไม่ได้เป็นหนังสือที่รวมเอาเรื่องแซะ แบบไร้รสนิยมเข้ามารวมไว้ในเล่ม แต่เป็นตรงกันข้าม "วิธีการเดินทางกับแซลมอน" กลับรวมเอามุมมองของบิดาแห่งชาวท่าแซะ ที่ตั้งคำถามกับเรื่องราวของสังคมที่มันดูชวนฉงน สงสัย ทำให้ต้องแซะ ว่าแท้จริงแล้วอะไร ทำไม ยังไง มันถึงต้องเป็นแบบนี้

             "วิธีการเดินทางกับแซลมอน" จะชวนเราไปตั้งคำถามกับเรื่องต่าง ๆ ของสังคม ด้วยมุมมองแบบสุดสนุก ลุกนั่งสบาย เดินเข้าออกก็ง่าย ถึงแม้ว่าเราจะพบแซลมอนตัวใหญ่ติดตัวไปไหนต่อไหนด้วยก็ตามที

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in