เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
หอยทากผู้ค้นพบประโยชน์แห่งความเชื่องช้าของตน By หลุยส์ เซปุล์เบดา
  • รีวิวเว้ย (173) หลายครั้งคนเราเลือกที่จะละเลยสิ่งที่ตัวเองเป็น สิ่งที่ตัวเองเคยเป็นหรือหลายครั้งก็กำลังเป็นอยู่ และเป็นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดยันตาย ในท้ายที่สุดเราก็มักจะเรียกมันว่า "ความเคยชิน" ความเคยชินมักเป็นมูลเหตุให้เราสมยอมต่ออะไรบางอย่าง ไม่คิดต่อต้าน ขัดขืนหรือแม้แต่ตั้งคำถาม คล้ายกับที่ทุกวันนี้เรา "เคยชิน" กับ "รัฐบาลทหาร" สมยอมต่ออำนาจที่มาจาก "กระบอกปืน" และก้มหัวให้กับชะตากรรมอันต่ำตมที่เกิดจากคนบางกลุ่มของสังคม 
    หนังสือ : หอยทากผู้ค้นพบประโยชน์แห่งความเชื่องช้าของตน
    โดย : หลุยส์ เซปุล์เบดา แปล สถาพร ทิพยศักดิ์
    จำนวน : 144 หน้า
    ราคา : 270 บาท

              หลากครั้งหลายคราที่คนเรามักมองไม่เห็น "คุณค่าในตัวเอง" แต่หลายคนก็เลือกที่จะปล่อย ๆ มันไป ไม่หยิบเอามาสนใจและใช้ชีวิตไปในช่วงเวลาเดิม ๆ ตามที่เคยเป็น แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ยังคง "แสวงหา" "ตั้งคำถาม" ถึงคุณค่าของตัวเอง และคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองเป็น

              ครั้งหนึ่งเราเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งของ "หนุ่มเมืองจัน" ที่เขียนถึงเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ที่เกิดอุบัติเหตุสูญเสียขาทั้ง 2 ข้างที่ประเทศสิงค์โปร์ เวลาผ่านมาช่วยระยะหนึ่ง เด็กผู้หญิงคนนี้ให้สัมภาษณ์ถึงความเห็นในเรื่องของการสูญเสียขาทั้ง 2 ข้างไปพร้อมกับแววตาอันสดใสว่า "ไม่เห็นเป็นเรื่องลำบางเลยคะ หนูว่าแบบนี้เวลานอนตักแม่บนรถดีซะอีก ไม่ต้องงอขาให้เมื่อยเพราะขาไม่ชนประตู" คำพูดของเด็กหญิงแสดงให้เห็นถึงการ "มองเห็นคุณค่า" ในตัวเอง แทนที่จะสมยอมต่อสิ่งที่เป็น และสิ่งที่เกิดขึ้น เธอกลับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อมัยและใช้ชีวิตร่วมกับมันได้เป็นอย่างดี

              "หอยทากผู้ค้นพบประโยชน์แห่งความเชื่องช้าของตน" ก็เริ่มต้นขึ้นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องราวของหอยทาก ที่ตั้งคำถามกับตัวตนของตัวเอง ในเรื่องของ (1) ความเชื่องช้า และ (2) การระบุบตัวตนด้วยเพียงนามว่า "หอยทาก" หอยทากตัวดีงกล่าวเริ่มตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใด "พวกเรา" จึงเชื่องช้า เพราะเหตุใด "พวกเรา" จึงต้องชื่อหอยทากเหมือนกันทุกตัว ไม่มีตัวใดมีชื่ออื่น ๆ บ้างหรือ

              เมื่อหอยทากตั้งคำถามกับตัวตน และความเคยชินของตน หอยทากจึงถูกครหาว่า "ทำห่าอะไรไม่เข้าเรื่อง ควรอยู่เฉย ๆ และทำสิ่งที่ตัวเองทำไปนั้นแหละดีที่สุดแล้ว" (คล้ายกับวิธีคิดของรัฐบาลทหารยังไงแปลก ๆ) ซึ่งในท้ายที่สุดเมื่อหอยทาก "นอกคอก" ตั้งคำถามและต้องการแสวงหาคำตอบมันจึงออกเดินทาง และพบว่าโลกใบนี้กว้างใหญ่เกินกว่าที่กะลาใบน้อยจะปิดป้องมันเอาไว้ได้ กะลาน้อยไม่สามารถป้องกันเผาพันธุ์ของพวกมันจากพยันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

               เมื่อรับรู้ รับทราบถึงภัยที่จะเกิดขึ้น หอยทากจึ้งเดินทางกลับไปในที่ที่ตังเองจากมา เพื่อบอกเตือนทุกคนว่าอันตรากำลังจะมาถึง แต่เป็นที่แน่นอนว่าย่อมมีหอยทากที่ไม่สนใจใจคำพูดของหอยทากนอกคอก และสมยอมต่อสิ่งที่ตนเป็น เข้าใจว่าตนรู้ทุกอย่าง ซึ่งในท้ายที่สุดหอยเหล่านั้นก็ตายลงเพียงเพราะทนงตนว่าข้าคือ "หอยทากผู้เฒ่าผู้ผ่านร้อนหนาวมามากมาย" ในท้ายที่สุดคุณค่าของความเชื่องช้า ก็ช่วยกระตุ้นเตือนให้หอยทากตัวหนึ่งตั้งคำถามต่อสิ่งที่เผาพันธุ์ของมันเป็น รวมถึงช่วยให้เผ่าพันธุ์ของมันรอดพ้นจากพยันตรายที่เหล่าผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจมองข้ามและทำเป็นไม่สนใจ

              หากเราตั้งคำถามกับชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เราเคยชิ้น และถูกทำให้คุ้นชินไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจจะกลายเป็น "หอยทากผู้ค้นพบประโยชน์แห่งความเชื่องช้าของตน"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in