เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
เรื่องชาวบ้าน By พิช วิชญ์วิสิฐ
  • รีวิวเว้ย (139) สิ่งที่เราชาวไทยมีรวมกัน อาจจะไม่ใช่เรื่องของความคับข้องหมองใจที่ต้องมานั่งทำตาลอยอยู่หน้าทีวี ในทุกวันศุกร์เวลา 3 ทุ่ม เพราะหลายคนเลือกปิดทีวีและไปนั่งแคะเล็บเท้าได้อย่างสบายใจ ดังนั้นนี่จึงไม่ใช่สิ่งที่คนไทยมีร่วมกัน สิ่งที่คนไทยมีรวมกันแน่ ๆ และถือได้ว่าเป็น "อัตลักษณ์" ของคนในชาติ ที่เพิ่มเติมจากการไหว้ ก็ต้องนี้เลยครับ การ "เสือก" ถือได้ว่าเป็นอัตลักษ์สำคัญของคนในชาติไทย และคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าตัวเองไม่มี ...ห่ะ !!! ไม่มีหรอ คุณนะ "คนไทยรึเปล่า"

    และที่สำคัญไปกว่านั้น "เสือก" มักจะมีสร้อยห้อยท้ายมาด้วยเสมอนั่นคือ "เรื่องชาวบ้าน" 
    หนังสือ : เรื่องชาวบ้าน
    โดย : พิช วิชญ์วิสิฐ
    จำนวน : 172 หน้า
    ราคา : 200 บาท

             "เสือก" เอาจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นคำหยาบคายแต่ประการใด แต่ด้วยนิสัยดัดจริตของคนไทยบางกลุ่มก็ทำให้ "เสือก" กลายเป็นคำหยาบไปซะอย่างนั้น

             โดยสำนักราชบัณฑิตสภา ได้ให้ความหมายของคำว่า "เสือก" ในยุคแรกเอาไว้ว่า "เสือก" หมายความว่า พุ่งตัวเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น พอถึงที่นอนเขาก็เสือกตัวเข้าไปใต้ผ้าห่มอย่างรวดเร็ว ...และอีกความหมายหนึ่ง "เสือก" ที่ใช้ในความหมายว่า เข้าไปยุ่งหรือวุ่นวายในเรื่องของผู้อื่น มักใช้เป็นคำตำหนิคนที่เข้าไปยุ่งกับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตน คนที่เข้าไปยุ่งเรื่องที่เจ้าของเรื่องไม่ต้องการให้เข้ามายุ่ง. เป็นคำไม่สุภาพ มีความหมายเหมือนกับคำว่า สาระแน ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพเช่นเดียวกัน. (ยกเขามาทั้งดุ่น คิดดูนะครับที่เสือกกลายเป็นคำหยาบไปก็เพราะแบบนี้แหละ แหม่เสือกจริง ๆ)

              กลับมาที่ "เสือก" ในมุมของการเข้าไปยุ่งเรื่องคนอื่น ซึ่งจริง ๆ แล้วตามการให้ความหมายของ ผู้เขียน "เสือก" คือการแสดงถึง (1) ความห่วงใย (2) ความเอาใจใส่ (3) ความเห็นอกเห็นใจ เห็นม่ะ เสือกไม่เห็นจะเป็นคำหยาบตรงไหนเลย

              เอาจริง ๆ ถ้าเราได้ยินคำว่า "เสือกเรื่องชาวบ้าน" เราจะเข้าใจทันทีว่า อ่อนี้เรากำลังไปยุ่งกับเรื่องของเขาหรอ (ในทางลบ) แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว "เสือกเรื่องชาวบ้าน" คือ การแสดงความเป็นห่วงเป็นใย ใส่ใจอาทร วิวรณ์ถวิลหา เมตาเอาใจใส่ (ในทางบวก) เห็นม่ะ "เสือกเรื่องชาวบ้านคือเรื่องดีงาน ที่เราควรทำ มิเช่นนั้น มันคงไม่เป็น "อัตลักษณ์" ของคนทั้งประเทศหรอกเนอะ

              ระหว่างที่คิดเข้าข้างตัวเองมาหลายปี ว่า "เสือกเรื่องชาวบ้าน" คือ คำที่ดีและควรกระทำ วันหนึ่งผู้เขียนก็พบเช้ากัลหนังสือ "เรื่องชาวบ้าน" ของ "พี่พิช ออกัส" ที่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า "เรื่องของชาวบ้าน" คือ "อัตลักษณ์" รวมของคนไทยทั้งประเทศ และยังเป็นการเอาใจใส่ ในคนต่าง ๆ ที่เราเฝ้าเก็บข้อมูล สังเกตุสังกาเขาอีกด้วย 

               แถมหนังสือ "เรื่องชาวบ้าน" ยังทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องของชาวบ้าน ที่อยู่รอบตัวพี่พิชได้อย่างดี และ "เรื่องชาวบ้าน" ยังแสดงให้เห็นว่า คนรอบข้างเรา ชีวิตของพวกเขายังมีเรื่องน่าสนใจ และพร้อมให้เราหยิบใช้เป็นบทเรียน (หรือวัตถุดิบในการเขียนหนังสือ) ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี

               หนังสือ "เรื่องชาวบ้าน" ยังคอยบอก ตอกย้ำ และเตือนเราว่า บางครั้งเราควรใส่ใจในเรื่องของชาวบ้านบ้าง ใช่ว่ามันจะเป็นเรื่องไม่ดีซะเมื่อไหร่ อย่างน้อยเราจะได้รู้ว่าเขาเป็นใคร เคยเป็นใคร และเคยทำอะไรมา ในวันข้างหน้าหากโคจรมาเจอกันจะได้วางตัวได้เหมาะสม

            รวมถึงยังเป็นการเอาใจใส่สิ่งรอบ ๆ ตัวเราด้วย เพราะเอาเข้าจริงแล้ว เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลก และปฏิเสธไม่ได้ว่าเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนหลาย ๆ คนรอบ ๆ ตัว ดังนั้นการรู้เรื่องเขาเอาไว้บ้างก็ไม่เสียหาย

              ที่สำคัญ หากวันหนึ่งเขาหรือเราเกิดเป็นอะไรไป อย่างน้อย ๆ จะได้เอะใจ ว่า เอ๋หายไปไหนหลายวัน และจะได้พาคนมาบุกพังประตู เพื่อดูว่าขึ้นอืดรึยัง จะได้ไม่เหมือนกับข่าวในต่างประเทศ ที่บางคนตายไป 2-3 ปีแล้วยังไม่มีใครรู้ โครงกระดูกยังนั่งดูทีวีอยู่บนเก้าอี้มา 3 ปีรวด

              เช่นนั้นเราควรใส่ใจเรื่องของชาวบ้านเขาบ้าง และถ้าใครไม่รู่จะเริ่มต้นยังไง ก็เริ่มจาก "เรื่องชาวบ้าน" ของพี่พิชเนี่ยแหละ ง่ายดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in