เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
วันละเรื่องChaitawat Marc Seephongsai
"โคมลอย" สำนวนของไทยสมัยรัชการที่ 5 จริงหรอ
  •               ( ประเพณีลอยโคม จังหวัดเชียงใหม่ )

              หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "โคมลอย" แน่นอนโคมลอย หมายถึงโคมที่ใช้จุดไฟ แล้วอากาศร้อนจะค่อย ๆ ดันโคมให้ลอยขึ้นไปบนฟ้า หรือที่คนเหนือเรียกว่า "โคมยี่เปง" แน่นอนโคมลอยที่จะพูดถึงมันไม่ได้จบลงแค่นี้หรอก

              แต่วันนี้จะมาพูดถึง "โคมลอย" ในฐานะของสำนวน อย่าง "ข่าวโคมลอย"

              ข่าวโคมลอยในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง นักข่าวไปทำข่าวโคมลอยในงานยี่เปงที่เช่ียงใหม่ หรือข่าวที่ว่าโคมลอยตกใส่บ้านใครแล้วทำไฟไหม้วายวอดไปทั้งหลัง หรือโคมลอยลอยเข้าไปในเครืองยนต์ของเครื่องบินและทำเครื่องบินหม่งโลกตายยกลำ จริง ๆ แบบที่กล่าวไปก็ถือเป็นข่าวโคมลอยเหมือนกันนิหว่า แต่เอาเถอะวันนี้ขอพูดถึงโคมลอยในฐานะของ "ข่าวลือ" ก็แล้วกัน

              คำว่า "โคมลอย" มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า ชื่อเครื่องตามไฟชนิดหนึ่งที่จุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ

              แต่ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสำนวนหมายถึง ข่าวลือที่เหลวไหล ไม่มีมูล หรือไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นความจริง เช่น ใครนะลือกันว่าเขาถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ที่แท้เป็นข่าวโคมลอย“

              ที่มาของสำนวนที่ว่า "โคมลอย" นั่นมีที่มาด้วยกัน 2 แบบ

              แบบที่ 1 ว่ากันว่าสำนวน "โคมลอย" เป็นสำนวนที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่งในสมัยนั้น ชื่อ พันช์ (Punch) ที่หน้าแรกของหนังสือมีรูปโคมซึ่งลอยอยู่ ในหนังสือนั้นมักมีเรื่องตลกแบบฝรั่ง แต่คนไทยเห็นว่าไม่เข้ากับเรื่อง ก็มักเรียกว่า โคมลอย หรือ โคม (ที่คนไทยว่าไม่เข้ากับเรื่องคงเป็นเพราะอ่านไม่เข้าใจ)

              แบบที่ 2 ว่ากันว่าสำนวน "โคมลอย" เป็นสำนวนที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเกิดขึ้นที่ เขาวังหรือพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นสถานที่ตั้งของวังที่รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสให้สร้างขึ้นบนเขา เพื่อใช้เป็นสถานที่แปลพระราชฐานของพระองค์ท่าน แต่แล้วระหว่างการดำเนินงานสร้างจนใกล้แล้วเสร็จนั้น ก็มีข่าวจากเพชรบุรีเข้าไปที่พระนคร ความว่า "มีโคมลอยของชาวบ้านลอยไปตกลงที่เขาวัง และโคมลอยดังกล่าวได้ทำให้เขาวังที่กำลังก่อสร้างไหม้จนวายวอดไปทั้งเขา" ด้วยเหตุนี้ทางพระนครจึงได้ส่งคนเดินทางไปสำรวจความเสียหายที่จังหวัดเพชรบุรี แต่แล้วเขาวังก็ยังดำเนินการสร้างต่อไป โดยไม่มีส่วนไหนไหม้จากโคมลอยเลยแม้แต่น้อย ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของสำนวน "ข่าวโคมลอย" ที่ดูวายวอดดีจริง ๆ นับแต่นั้นมา สำนวนว่า "ข่าวโคมลอย" จึงถูกใช้มาอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งปัจจุบัน

             ที่มาของสำนวน "โคมลอย" ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้ เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วชอบแบบไหนก็เลือกหยิบเอาที่มาของโคมลอยไปเล่าต่อได้ตามอัธยาศัย ไม่มีใครว่า หรือถ้าว่าก็อย่าไปสน เพราะความจริงนั่นขึ้นอยู่กับว่ามันเป็นความจริงของใครและใครคือผู้สร้างความจริง

                 ( พระนครคีรี หรือ เขาวัง จังหวัดเพชรบุรี )

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in