เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
วันละเรื่องChaitawat Marc Seephongsai
น้ำท่วมพี่ว่าดีกว่าฝนแล้ง
  • ถ้าใครเคยอ่าน "โลกที่ (คิดว่า) คุ้นเคย" บทหนึ่งในหนังสือเขียนถึงเรื่องของ "สังคมน้ำท่วม : บริบททางภูมิศาสตร์ของอยุธยา" (https://minimore.com/b/Us3Wj/170) ซึ่งบอกให้เรามองเรื่องน้ำท่วมเป็นเรื่องปกติ และเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญของความสมบูรณ์ของพื้นที่ราบสามเหลี่ยมดินดอนปากแม่น้ำที่ได้รับประโยชน์จากฤดูน้ำหลาก ที่จะช่วยให้แร่ธาตุถูกพัดพามาสะสมเอาไว้ที่พื้นที่ปากแม่น้ำ และทำให้พื้นที่บางกอก ธนบุรี นนทบุรี กลายเป็นแหล่งปลูกพืชผัก ผลไม้สำคัญของสยามนับแต่ครั้งอยุธยา กระทั่งมาถึงช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ทีคำพูดติดปากของคนแถบอัมพวาว่า "บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน" นอกจากนั้นเรื่องของ "น้ำท่วมหรือน่าน้ำ" ยังเป็นเรื่องปกติของชาวบ้านกระทั่งมันสร้างวิถีชีวิตของชาวบ้านมากมาย อาทิ การเล่นทุ่ง หรือการจับปลาหน้าน้ำหลาก รวมถึงบ้านเรือนของคน "พื้นที่ราบภาคกลาง" ก็เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงที่ใต้บ้านจะมีเรือเป็นของตัวเอง
    .
    ซึ่งวิธีเหล่านี้ปรากฏอยู่ในเพลง "ฝนเดือนหก" ที่แสดงถึงความสำคัญของฤดูกาลและสายฝนสายน้ำที่ส่งผลโดยตรงต่อวิธีชีวิตของผู้คน และในบทความ "น้ำปลาตราพ่อดื้อ กับ “ฤดูปลาขึ้น” ที่สุโขทัย วิถีท้องถิ่นที่ (เคย) ทำน้ำปลากินเองได้ทุกปี" (https://lm.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fwww.silpa-mag.com%2Fculture%2Farticle_15314&h=AT1YXpZ8ayel9qhoHgiqdu4fW2YldodGclaiAhlYKprR32W2PmkmE8bcDAW3vqlYoqRhkD9cncURb2PgGrZK-4HCijQcTtBoFK7AtsRu9uv0s_ckLtLfHAW5HHZefx5cTA) ก็แสดงให้เห็นถึงวิถีของผู้คนต้นน้ำที่เจอฤดูน้ำหลากอยู่เป็นปกติ ซึ่งความสำคัญของฝนและน้ำท่วมยังสะท้อนผ่านเพลงอีกหลายเพลงโดยเฉพาะเพลง "น้ำท่วม" ของศรคีรี ศรีประจวบ ที่แต่งโดยครูไพบูลย์ (https://www.silpa-mag.com/history/article_38197)
    .
    และการพัฒนาของเมืองเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ ก็ได้สร้างแนวคิดของการ "ตัดขาดคนออกจากน้ำ" ในแต่ละครั้งที่น้ำท่วมจึงกลายเป็นเรื่องแปลก และเป็นผลกระทบสำคัญ เรื่องด้วยวิถีชีวิตของผู้คน ตัดขาดการใช้น้ำจากวิถีในอดีต ฉะนั้นเมื่อถึงหน้าน้ำ และฤดูน้ำหลากมันจึงกลายเป็น "ฝันร้าย" ที่ใคร ๆ ก็ไม่ต้องการ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมาพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของแนวคิดเรื่อง "ชลกร" ที่สามารถหาอ่านเพิ่มได้จากบืความเรื่อง "ชลกร: - ประวัติศาสตร์สังคมว่าด้วยความรู้ และการจัดการน้ำสมัยใหม่ในประเทศไทย" (https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http://www.polsci.chula.ac.th/jakkrit/anthro/Home_files/Chonlakorn.pdf&ved=2ahUKEwjWwOay25vzAhUjyzgGHdC9Dk4QFnoECAoQAQ&usg=AOvVaw39K9U_W5Fy5CG18vGoVh7K&cshid=1632627786017)
    .
    เลยลองรวมเอาเพลงลูกทุ่งที่พูดถึงเรื่องของ "น้ำท่วม" ของนักร้องและครูเพลงยุคเก่ามารวมไว้ให้ลองฟังกัน ถ้าลองฟังไล่ลำดับจากที่เลือกมา เราอาจจะพอมองเห็นพัฒนาการของความรับรู้เรื่อง "น้ำท่วม" ในสังคมไทยได้บ้าง แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด และถ้าใครพอจะรู้ว่ามีคนทำงานศึกษาประเด็นนี้ไว้ที่ไหรอีกบ้าง รบกวนช่วยแปะแหล่งข้อมูลให้หน่อย
    .
    ฝนเดือนหก -- รุ่งเพชร แหลมสิงห์
    https://music.youtube.com/watch?v=rdaePshfcjs&feature=share
    .
    น้ำลงเดือนยี่ -- รุ่งเพชร แหลมสิงห์
    https://music.youtube.com/watch?v=geLHekyBcBI&feature=share
    .
    น้ำท่วม -- ศรคีรี ศรีประจวบ
    https://music.youtube.com/watch?v=d_Hk_lFGWh0&feature=share
    .
    น้ำท่วมอีกแล้ว (ร้องแก้น้ำท่วม) -- เรียม ดาราน้อย
    https://music.youtube.com/watch?v=jLJqT3kGX1U&feature=share
    .
    น้ำท่วมกรุงเทพฯ -- เพลิน พรหมแดน
    https://music.youtube.com/watch?v=AXoPn5exndg&feature=share
    .
    น้ำท่วมสุโขทัย -- เพชร โพธาราม
    https://music.youtube.com/watch?v=NUMQXSUE0L4&feature=share
    .
    น้ำท่วมนา -- ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
    https://music.youtube.com/watch?v=TfBzn7MJQgQ&feature=share

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in