เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
วันละเรื่องChaitawat Marc Seephongsai
สาธารณูปโภค VS สาธารณูปการ
  • สาธารณูปโภค (Public Utilities)
              สาธารณูปโภค (Public Utilities) เมื่อกล่าวถึง สาธารณูปโภค เรามักจะมีการรวมไปถึงสาธารณูปการ หรือการบริการของรัฐในด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงน่าที่จะได้ทำความเข้าใจกับความหมายของ สาธารณูปโภค ให้ตรงกัน

             Infrastructure (n.) – the basic systems and structures that a country or organization needs in order to work properly, for example transport, communications, and banking systems (Longman Dictionary of Contemporary, 1995).

             ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง หมายถึง บริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับในชุมชน รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและรับภาระในการให้บริการ (อาจจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม) บริการดังกล่าวจะปรากฎในในเขตเมือง (Urban Area) เป็นส่วนใหญ่ Infrastructure จึงแบ่งออกเป็น Public Utilities (สาธารณูปโภค) และ Public Facilities (สาธารณูปการ)

              หลักเกณฑ์ (Criteria) ในการจำแนกประเภทของบริการพื้นฐานดังกล่าว มีดังนี้คือ

              จากตาราง จึงอาจสรุปได้ว่า ขณะนี้ สาธารณูปโภคเป็นตัวชี้ขอบเขต(boundary) ของเมือง (เทศบาล) หรือชุมชน และทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นตัวส่งเสริมและตัววัดระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในชุมชนนั้น ๆ ดังนั้น สาธารณูปโภค จึงได้แก่ ถนน โทรศัพท์ แก๊ส ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ การกำจัดขยะ ฯลฯ ซึ่งสามารถจะจัดกลุ่มประเภทของสาธารณูปโภคได้ดังนี้ คือ ถนน โทรศัพท์ การขนส่ง 
    แก๊ส ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ประปา ระบายน้ำ กำจัดขยะ การสื่อสาร


    สาธารณูปการ (Public Facilities)
             สาธารณูปการ (Public Facilities) หมายถึง บริการเพื่อสาธารณะซึ่งดำเนินการโดยองค์กรของรัฐหรือเอกชนโดยการควบคุมของรัฐบาล ซึ่งได้แก่บริการในเรื่องเคหการ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การอนามัยความปลอดภัย สันทนาการ และบริการอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาชน และเป็นกิจการที่ไม่
    หวังผลกำไร

             สาธารณูปการ มีหลายประเภทและชนิด ซึ่งพอจะสรุปผลได้ดังนี้
             1. การบริการ ได้แก่ ศาล ศาลากลาง เทศบาล สถานที่ราชการอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ สำนักงานแรงงาน เป็นต้น
              2. วัฒนธรรม ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โรงละคร ท้องฟ้าจำลอง
             3. การศึกษา ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
             4. การอนามัย ได้แก่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข
             5. เคหการ ได้แก่ โครงการเคหการ
             6. สันทนาการ ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามกีฬา
             7. ความปลอดภัย ได้แก่ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง เป็นต้น

    ที่มา : http://expublic.blogspot.com/2011/03/public-utilities.html?m=1

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in