เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
วันละเรื่องChaitawat Marc Seephongsai
ตุลาการผู้แถลงคดี

  •           วันนี้เห็นสื่อหลายสำนักลงข่าวในโลกออนไลน์ เรื่องของ ตุลาการผู้แถลงคดีแห่งศาลปกครองมีความเห็นในเรื่องของการเพิกถอนคำสั่งของ มธ. เรื่องการไล่ อ.สมศักดิ์เจียม ออกจากราชการ

              แต่แล้วก็มาสะดุดที่พาดหัวข่าวของ BBC Thai อย่างที่เห็นตามภาพ หากไม่กดเข้าไปอ่านจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เนื้อความของข่าวนั้นเป็นการแถลงคดี หรือแถลงความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี(ไม่ใช่ตุลาการเจ้าของคดี) เพียงเพื่อแสดงความเห็นของตุลาการผู้แถลงฯ ว่า คำสั่งดังกล่าวของ มธ. ไม่ชอบธรรม/ไม่เป็นธรรม สมควรเพิกถอดคำสั่งเสีย

              ปัญหาจริง ๆ ของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า อะไร หรือ ใคร คือ "ตุลาการผู้แถลงคดี" หากเราตัดสินหรือใช้ความเคยชินแบบไทย ๆ พอเราเห็นข่าวนี้เราจะคิดเลยว่า

              อ่อ อ.สศจ. จะไม่ถูกไล่ออกแล้วเพราะตุลาการศาลปกครองออกมาตัดสินให้เพิกถอนคำสั่ง ไล่ออกเสีย ฉะนั้น อ.สศจ. ก็จะได้กลับมาเป็น อ. ตามเดิม เย่เย แต่เดียวก่อน ตุลาการผู้แถลงคดีไม่ใช่คณะตุลาการเจ้าของคดี

              ตุลาการผู้แถลงคดี คือใคร ตุลาการผู้แถลงคดี คือ ตุลาการที่อยู่นอกองค์คณะของตุลาการเจ้าของคดี หรือพูดง่าย ๆ คือไม่ใช่ตุลาการที่ทำคดี ทำใครคำตัดสินของตุลาการผู้แถลงคดีไม่สามารถชี้ขาดในคดีได้ ทำได้เพียงแค่เป็นความเห็นหรือเป็นการให้ความเห็นกับองค์คณะตุลาการเจ้าของคดีแต่เพียงเท่านั้น ว่า "ตามความเห็นของตุลาการผู้แถลงฯ คำสั่งไล่ออกของ มธ. ที่มีต่อ อ.สศจ. นั้นควรถูกเพิกถอนเสีย" นี่ไม่ได้แปลว่า อ.ศสจ. จะได้กลับเข้ารับราชการแต่อย่างใด เพราะความเห็นก็คือความเห็น (ความเห็นไ่ม่ใช่คำตัดสิน)

              หากจะรอคำตัดสินจริง ๆ ในกรณีนี้ต้องรอจาก "องค์คณะตุลาการเจ้าของคดี" มิใช่จาก "ตุลาการผู้แถลงคดี"

               ส่วนเรื่องของการ "เพิกถอนคำสั่ง" กับการ "ยกเลิกคำสั่ง" นั่นต่างกันอย่างไร หากอธอบายอย่างละเอียดมันจะยาวมาก เอาเป็นว่าเอาแบบสั้น ๆ ไปก่อนละกัน 

              "เพิกถอนคำสั่ง" คือ การยกเลิกคำสั่งตั้งแต่วันที่ประกาศคำสั่ง เช่น คำสั่งไล่ออก อ.สศจ. มีตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2549 จนกระทั่งวันที่ 1 มี.ค.2559 ศาลปกครองมีคำสั่งให้"เพิกถอนคำสั่ง"ที่ว่าด้วยเรื่องการไล่ออกจากราชการ ตัวคำสั่งที่เพิกถอนก็จะมีผลย้อนหลังไปนับเอาตั้งแต่ปี 2549 อย่างการงดจ่ายเงินเดือนมาแล้ว 10 ปี และศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ทาง มธ.ต้องจ่ายเงินเดือนย้อนหลังให้ อ.สศจ. เป็นเวลา 10 ปี ฯลฯ

              "ยกเลิกคำสั่ง" คือ ให้คำสั่งนั้นมีผลยกเลิกนับแต่วันที่ศาลปกครองมีคำสั่งยกเลิกเป็นต้นไป เช่น คำสั่งไล่ออก อ.สศจ. มีตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2549 จนกระทั่งวันที่ 1 มี.ค.2559 ศาลปกครองมีคำสั่งให้"ยกเลิกคำสั่ง"ที่ว่าด้วยเรื่องการไล่ออกจากราชกา ตัวคำสั่งของศาลปกครองจะมีผลนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งนี้ออกมาและนับต่อไปข้างหน้า ก็คือให้กลับเข้ามารับราชการแต่ไม่มีการจ่ายเงินเดือนยอนหลัง และคืนสิทธิอื่น ๆ อันควรได้จากช่วงเวลาที่เสียไปก่อนหน้านี้

               ทั้งหมดเป็นการอธิบายความแบบคร่าว ๆ ถ้าอยากได้แบบละเอียดแนะนำให้ไปอ่านหนังสือของ อ.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ และ อ.นันทวัฒน์ บรมานันท์

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in