เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เนย์ได้ฝึกงานกับสมาคมนักเขียนฯNaybyNay
คลาสเรียนวิชาวรรณกรรมกับคำถาม 5 ข้อ
  •           การเรียนรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่เนย์ได้รับมอบหมายจากสมาคมนักเขียนฯ นับเป็นภารกิจสำคัญที่ทางสมาคมตั้งไว้เป็นเป้าหมายหนึ่งในการฝึกงาน วันนี้เนย์จะมาเล่าการเรียนของเนย์ในคลาสวรรณกรรมของอ.สกุลช่วงที่เนย์ฝึกงานกับสมาคมนักเขียนฯ ให้ฟังค่ะ

              ตลอดการฝึกงานเนย์เข้าคลาส lecture ทั้งหมด 4 ครั้ง และครั้งที่ 5 เป็นคลาสสรุปภาพรวมของการฝึกงาน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบายของไวรัสโควิด-19 ทำให้เนย์เข้าคลาสเฉลี่ยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ทุกคลาสก็จะมีการบ้านและการเตรียมตัวที่ต้องอ่านวรรณกรรมที่อาจารย์สกุลมอบหมายก่อนจะเข้าคลาส เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์สกุล ตลอดคลาสเนย์จะได้เรียนแล้วก็ได้ถามในสิ่งที่เนย์สงสัยเกี่ยวกับงานเขียนด้วย เนย์ได้อ่านเรื่องสั้นของนักเขียนไทยที่ได้รางวัลต่าง ๆ จากเวทีประกวดมากมายและการที่เนย์ได้เริ่มต้นอ่านงานเขียนของคุณฮารูกิมูราคามิ ก็มาจากการเรียนการสอนของสมาคมนักเขียนนี่แหละค่ะ คือมันบังเอิญมากที่เวลาเนย์นั่ง MRT ไปฝึกงานที่สมาคมมันจะผ่านสถานีจตุจักรที่มีร้านนายอินทร์ในเมโทรมอลล์ วันไหนที่ว่างเนย์จะแวะร้านหนังสือก่อนกลับบ้านทุกครั้งเลย โชคดีที่เนย์หยิบเล่ม “รักเร้นในโลกคู่ขนาน” ของมูราคามิขึ้นมาอ่านเป็นเล่มแรกเลยทำให้เนย์รู้สึกว่างานเขียนของมูราคามินั้นมีเสน่ห์มาก ๆ เลยอยากตามอ่านเล่มต่อ ๆ ไปของเขา (เนย์พูดได้เต็มปากเลยว่าถ้าเนย์ได้อ่านเล่มอื่นที่ไม่ใช่เรื่องนี้เนย์อาจจะไม่ได้ตามผลงานของมูราคามิเหมือนอย่างตอนนี้ก็ได้ค่ะมันเป็นความรู้สึกที่อธิบายไม่ถูก เนย์แค่รู้สึกว่าเรื่องรักเร้นในโลกคู่ขนานมันลงตัวที่สุดแล้วกับการเป็นหนังสือเล่มแรกให้เนย์เริ่มทำความรู้จักนักเขียนคนนี้ แปลกใช่ไหมคะ555555555)

              เนย์ว่าเนย์พาทุกคนนอกเรื่องไปไกลมาก5555 เรากลับมาที่คลาสเรียนวรรณกรรมกันดีกว่าค่ะ เนย์อยากจะแชร์บทเรียนคลาสสุดท้ายของเนย์ก่อนฝึกงานจบค่ะ บทเรียนนั้นคือ Crystal Mirror ค่ะ อาจารย์สกุลได้ให้ข้อคำถามจำนวน 5 ข้อที่ทำให้เนย์ได้หันมาสำรวจตัวตนและจิตใจของตัวเอง ด้วยข้อโจทย์ต่อไปนี้

    1. ความหมายแห่งชื่อ

              ชื่อเป็นสิ่งที่ผู้อื่นมอบให้เรามาตั้งแต่เกิดคำถามนี้ชวนตั้งคำถามกับตัวเองว่า ตัวตนของเราสะท้อนผ่านตัวอักษรแต่ละตัวของชื่ออย่างไรบ้าง

    2. ตั้งฉายาให้ตนเอง

              ในเมื่อเราได้รู้จักตัวตนของตัวเองแล้ว เรามาลองตั้งฉายาที่เข้ากับตัวตนของเรามากที่สุดกัน

    3. ตั้งชื่อใหม่ให้ตนเอง

              จากข้อ 1 ชื่อของเราเป็นสิ่งที่ผู้อื่นมอบให้ แล้วถ้าเป็นเราเองที่ตั้งใหม่ให้ตัวเองบ้างเราจะตั้งชื่อใหม่ให้ตัวเองอย่างไร

    4. รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยิน ได้สัมผัสคำว่า “คนเดียวในโลก”และ “เราต่างมีชีวิตอยู่”

    5. มองเห็นอะไรจากจินตนาการที่ผ่านถึง คำว่า “Dancerin the dark” และ “Moonlight in the morning

              เพื่อน ๆ ลองนำคำถามทั้ง 5 ข้อของอ.สกุล บุณยทัต ไปลองถามตัวเองเล่น ๆ ได้นะคะว่าแท้จริงแล้วเรามองตัวเองอย่างไร และนี่ก็เป็นบทเรียนสุดท้ายก่อนเนย์ฝึกงานจบจากสมาคมนักเขียนค่ะนอกจากนี้เนย์ยังได้รับเอกสารจากอาจารย์สกุลเยอะมาก ๆ  ช่วงเวลาที่ได้เข้าคลาสวรรณกรรมของ อ.สกุล เนย์รู้สึกขอบคุณทุกครั้งที่อาจารย์สกุลมอบบทความการวิจารณ์วรรณกรรมที่อาจารย์เขียนในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ให้เราได้อ่านเพื่อศึกษาเพิ่มเติม หนังสือแต่ละเล่มที่อยู่ในบทความทำให้เราอยากไปตามอ่านหนังสือเล่มอื่น ๆ ต่ออีกเยอะเลยค่ะ แต่ว่ามนุษย์เรามีเวลาจำกัดจนไม่อาจอ่านหนังสือทุกเล่มในบรรณพิภพได้ใช่ไหมล่ะคะ แถมยังมีกำแพงเรื่องภาษาอีก ดังนั้นการได้อ่านบทวิจารณ์ของอาจารย์สกุล ถือว่าย่นระยะเวลาการอ่านหนังสือของเนย์ไปได้หลายเล่มทีเดียวค่ะ ก็ถ้าหากมีเล่มไหนที่เนย์สนใจเป็นพิเศษก็เป็นตัวเลือกให้ไปตามตัวเล่มหนังสือฉบับเต็มได้เลยยังไงล่ะคะ ถ้าหากเพื่อน ๆ สนใจสามารถไปตามอ่านงานวิจารณ์ของอาจารย์สกุลได้ในบทวิจารณ์วรรณกรรมของนักเขียนนามปากกา “ปากกาขนนก” ได้ในสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ได้นะคะ มันดีมาก ๆ เลยค่ะ

    สำหรับวันนี้เนย์คงต้องขอตัวลาไปก่อน อีพีถัดไปจะเป็นอีพีส่งท้ายสรุปการฝึกงานทั้งหมดของเนย์แล้ว ต้องรอติดตามนะคะ ไว้เจอกันน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in