เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First StoryPloy Thunyathorn
วรรณชะนี : ค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงในวรรณคดีที่อยู่คู่สังคมไทย
  • ย้อนกลับไปเมื่อสมัยมัธยม เราหลาย ๆ คนน่าจะมีความทรงจำเกี่ยวกับการเรียนวรรณคดีในวิชาภาษาไทยไม่มากก็น้อย และเราคงจะจำได้ว่าสิ่งหนึ่งที่จะมาพร้อมกับการศึกษาวรรณคดีก็คือบทบาทและค่านิยมของผู้หญิงที่ถูกตีกรอบจากสังคม ในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไทยเราจะก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์แล้ว เราก็ยังไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างเต็มปากว่าความเชื่อเรื่องบทบาทและค่านิยมดังกล่าวได้หมดไปจากสังคมไทยแล้ว 


    1.
    ผู้หญิงผ่านผู้ชายหลายคนเรียกว่าร่า* ส่วนผู้ชายผ่านผู้หญิงหลายคนเรียกว่า ?



    ปัจจุบันมีการเปิดกว้างเรื่องทางเพศมากขึ้นคนส่วนใหญ่สามารถมีเพศสัมพันธ์กันได้ถ้าทั้งคู่เต็มใจและยินยอม แต่ถ้าเราเลือกที่จะไปมีเพศสัมพันธ์กับหลายคนได้ไหม ? จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังมองว่าการที่ไปมีเพศสัมพันธ์กับหลายคน ถ้าเป็นมุมที่ผู้หญิงกระทำอย่างนั้นคือผู้หญิงที่ผ่านผู้ชายมาเยอะเป็นเรื่องผิด ดูเป็นผู้หญิงสกปรก ใจง่าย แย่ ถูกมองไปในทางลบ มีคำหยาบคายมาใช้เรียกการกระทำที่ผู้หญิงผ่านผู้ชายมาหลายคนมากมาย แต่ในมุมผู้ชายการที่ผู้ชายไปมีอะไรกับผู้หญิงหลายคนกลับถูกเชิดชู ถูกมองเป็นเรื่องดี หรือก็ดูที่จะไปเรื่องปกติที่ผู้ชายทำได้ ถูกเรียกว่าเป็น เสือผู้หญิง หรือคาสโนว่า อย่างในคอมเม้นท์ของกระทู้นี้ยังมองว่าการเป็นกุญแจที่ไขแม่กุญแจทุกอันเป็นกุญแจที่ดี แต่แม่กุญแจที่มีกุญแจหลายดอกไขได้เป็นสิ่งที่ไม่ดี และคอมเม้นท์นี้ก็ยังมีคนสนับสนุนหรือเห็นด้วย แสดงให้เห็นว่ายังมีคนเห็นด้วยกับค่านิยมแบบนี้อยู่

    อย่างเช่นในกลอนบางส่วนของเรื่องอุณรุทที่ว่า

                                                                              (จาก บทละครเรื่องอุณรุท)

    แสดงให้เห็นว่าสมัยก่อนก็ยังมีมุมมองที่มองว่าผู้ชายจะมีภรรยาหลายคนถือเป็นเรื่องที่มีเกียรติ น่ายกย่อง ผู้หญิงไม่ควรไปหึงหวง แต่กลับกันในฉากนึงจากเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนที่พระพันวัสสากำลังจะตัดสินประหารนางวันทองที่ว่า

                                                                            (จาก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)
    จากฉากนี้จะเห็นได้ว่านางวันทองที่ถูกผู้คนมองว่าหลายใจมีสามีหลายคนนั้นถูกประนาม โดนมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี ถูกด่าทออย่างรุนแรง เป็นเรื่องที่น่าขายหน้า แต่ขุนแผนที่ในเรื่องก็มีภรรยาหลายคนกลับไม่โดนสังคมมองอย่างที่นางวันทองโดน



    2. 
    ทำไมผู้หญิงยังไม่มีสิทธิในเรื่อง...?


    ผู้หญิงไม่ซิง = ไร้ค่า ?


     ปัจจุบันในสังคมไทย ค่านิยมเรื่องการเก็บพรหมจรรย์ของผู้หญิงยังคงถูกพบเห็นอยู่ทั่วไป คนในสังคมทั้งหญิงและชายมักจะมองว่าผู้หญิงที่บริสุทธิ์มีค่ามากกว่าผู้หญิงที่เสียพรหมจรรย์ไปแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปี กี่ยุคสมัย คนในสังคมไทยเราก็ยังคงให้คุณค่ากับการรักษาพรหมจรรย์ของผู้หญิง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะค่านิยมที่คนไทยถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ อย่างในสุภาษิตสอนหญิง ของสุนทรภู่ ที่เราจะเห็นได้ว่า มีการเน้นย้ำและปลูกฝังให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว และไม่รีบชิงสุกก่อนห่าม

                                                                              (จาก สุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่)

    นอกจากเรื่องการรักนวลสงวนตัว อีกสิ่งหนึ่งที่แม้ว่าจะดูเหมือนจางหายไปจากสังคมไทยแล้ว แต่ก็ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างปฏิเสธไม่ได้นั้นก็คือ ค่านิยมของการคลุมถุงชน ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเรายังสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน


    โดยค่านิยมเรื่องการคลุมถุงชนนั้นได้ปรากฎอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ดังเช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง เงาะป่า ที่ได้บรรยายถึงความทุกข์ของนางลำหับที่ไม่สามารถเลือกคู่ครอกที่ตนรักได้

                                                                             (จาก พระราชนิพนธ์เรื่องเงาะป่า)


    3. 

    ผู้หญิงหรือสิ่งของ ?


    ผู้หญิงคืออะไรในสังคมไทย ? เป็นมนุษย์เฉกบุรุษเพศ หรือเป็นเพียง 'สิ่งของ' ที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ แน่นอนอยู่แล้วว่าผู้หญิงเป็นมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย และไม่ต้องตั้งคำถามใด ๆ เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ของสตรีเพศ แต่การกระทำของสังคมที่สวนทางกับความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ของผู้หญิงทำให้เกิดคำถามที่ไม่ควรถามขึ้น
    เพราะฉะนั้น : ผู้หญิงเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ ? ผู้หญิงเป็นเพียงสิ่งของจริงหรือ ?


    ข้อความข้างต้นนี้คือความเห็นจากกระทู้ "ผู้ชายชอบผู้หญิงเวอร์จิ้นเหรอคะ ?" ในพันทิป ซึ่งสามารถตีแผ่คุณค่าความเป็นหญิงของสตรีเพศในสังคมออกมาได้เรียบง่าย แต่เห็นภาพที่ชัดเจน กล่าวคือ เป็นการยืนยันว่า สังคมมองผู้หญิงเป็นเพียงสิ่งของ ด้วยการเปรียบผู้หญิงบริสุทธิ์หรือผู้หญิงครองพรหมจรรย์เป็น 'ของมือหนึ่ง' ที่ผู้ชายหวังจะเป็นคน 'ใช้'


    ค่านิยมความเป็นสิ่งของของผู้หญิงนี้ปรากฎในวรรณคดีหลาย ๆ เรื่อง เช่น มัทนะพาธา

                                                                           (จาก บทละคอนคำพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา)

    บทนี้เป็นบทที่ชัยเสนเน้นย้ำกับจัณฑีว่า การที่จัณฑีได้มาเป็นเหสีของชัยเสนเพราะพ่อของทั้งสองต้องการผูกมิตรกัน เป็นการ 'มอบ' ลูกสาวให้อีกฝ่าย ใช้ลูกสาวเป็น 'เครื่องต่อรอง' หรือคล้าย ๆ สนธิสัญญา บทนี้แสดงให้เห็นการมองผู้หญิงเป็นวัตถุ และใช้วัตถุนี้เพื่อผลประโยชน์

    อีกตัวอย่างของค่านิยมที่ปรากฎในวรรณคดี คือ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ดังนี้

                                                                          (จาก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)

    บทนี้คือบทที่นางแก้วกิริยาตอบขุนแผนว่าตนไม่ใช่ภรรยาของขุนช้าง แต่พ่อของนางแก้วกิริยาต้องการใช้เงิน จึงมาหาขุนช้างเพื่อ 'ขอแลกลูกสาวเป็นเงินก้อนหนึ่ง' หรือ 'จำนำ' ไว้ ถ้ามีเงินมากพอก็จะมาไถ่ลูกสาวคืน บทนี้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเป็น 'สิ่งของมีค่า มีราคา' แต่ไม่ได้เป็น 'มนุษย์ที่มีค่าในตัวเอง' อย่างที่ควรจะเป็น

    แม้สังคมจะหมุนเปลี่ยนไปตามเวลาและเกิดแนวคิดการเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์มากขึ้น แต่ค่านิยมเก่าที่ลดทอดคุณค่าเหล่านี้ยังคงปรากฎอยู่ในสังคม แม้ตัวอย่างเหตุการณ์ในปัจจุบันที่มองว่าผู้หญิงเป็นสิ่งของที่ยกมาจะไม่ได้เกี่ยวกับการคลุมถุงชนหรือการจำนำผู้หญิงอย่างในวรรณคดีทั้งสองเรื่อง แต่แนวคิดที่ทั้งสามตัวอย่างนี้มีร่วมกัน คือ ความเป็นวัตถุของสตรีเพศ ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบที่ต่างกันตามบริบทของสังคมที่แตกต่าง



    4. 

    การคุกคามทางเพศ เรื่องปกติที่ไม่ปกติ ?

    ในสังคมปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นการคุกคามทางเพศจากผู้ชายที่กระทำต่อผู้หญิงในรูปแบบต่าง ๆ โดยอ้างว่าเป็น "เรื่องปกติ" แต่คำว่าปกติที่ใช้อ้างกันนั้น เป็นเพียงคำอ้างที่มาจากมาตรฐาน ความคิด และ ค่านิยมของฝ่ายชายที่เป็นผู้กระทำเท่านั้น เพราะ ฝ่ายหญิงที่เป็นผู้ถูกกระทำหลาย ๆ ท่านรู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด และเป็นกังวลกับการกระทำดังกล่าว ดังจากเห็นได้จาก ตัวอย่างต่อไปนี้


    จากตัวอย่างข้างต้น ผู้หญิงในกระทู้รู้สึกไม่สบายใจที่ตนเองถูกพนักงานชายแซว ขอเบอร์ หรือแม้กระทั่ง หลอกจับมือ ทำให้ตนต้องหาวิธีทางแก้ไขกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งแท้ที่จริงแล้วปัญหาเหล่านี้ควรเป็นฝ่ายชายที่จะต้องหยุดการคุกคามทางเพศไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมและเลิกหาข้ออ้างในการกระทำดังกล่าว ซึ่งการคุกคามทางเพศภายใต้ข้ออ้างต่าง ๆ นานาจนถูกมองข้ามไปว่ากำลังทำให้ผู้หญิงคนหนึ่ง ๆ เจ็บช้ำน้ำใจยังปรากฎอยู่ในวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่อง ดังตัวอย่าง บทร้อยกรองในเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ต่อไปนี้

                                                                            (จาก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน)

    ตัวอย่างนี้เป็นฉากที่ขุนช้างต้องการจะเข้าหอกับนางวันทอง แต่นางวันทองไม่ยอม จึงพยายามฉุดกระชากลากดึง แต่ประเด็นสำคัญคือ นางทองประศรี แม่ของนางวันทอง เป็นผู้ผลักดันให้นางวันทองเข้าหอกับขุนช้างโดยที่นางทองประศรีและขุนช้างไม่ฉุกคิดเลยว่านั้นจะเป็นการคุกคามทางเพศต่อนางวันทอง ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้นำไปสู่ ความเจ็บช้ำใจที่นางวันทองต้องยอมรับอย่างไม่อาจแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงได้



    5.

    ผู้หญิงอยู่ตรงไหนในสังคมแบบปิตาธิปไตย ?


    ปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงแม้ในโลกปัจจุบันจะมีกระแสเรียกร้องความเท่าเทียมให้กับเพศหญิงเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วประเทศไทยก็ยังคงมีลักษณะเป็นสังคมแบบปิตาธิปไตย หรือ สังคมชายเป็นใหญ่ อยู่

    “สามีเป็นผู้นำพาภรรยาให้ปฏิบัติตาม จนภรรยาได้รู้ซึ้งด้วยตัวเองว่าสิ่งที่สามีได้พาปฏิบัตินั้นคือความสุขที่แท้จริง” เป็นคำกล่าวของผู้ใช้เฟซบุ๊ครายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า สุดารัตน์ มงคลกุล โดยเจ้าของโพสต์ได้แนบรูปภาพของตัวเธอที่กำลังกราบสามี พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมว่า เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของเธอสอนมา “ทำแล้วดี ทำแล้วสบายใจ”

    ทั้งนี้จากโพสต์ดังกล่าวก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นชื่นชมการกระทำนี้เป็นจำนวนมาก


    การสรรเสริญเพศชายรวมถึงค่านิยมเรื่องชายเป็นใหญ่ไม่ใช่ค่านิยมใหม่ในสังคมไทยแต่อย่างใด แต่เป็นรูปแบบความคิดที่ปรากฎและได้รับการยอมรับมาตั้งแต่ในอดีต อันเป็นผลให้ความคิดดังกล่าวนี้ฝังรากลึกอยู่ในจิตสำนึกของคนไทยไปแล้ว โดยสามารถเห็นได้จากตัวอย่างกระทู้จากเว็บไซต์ pantip “หัวข้อโต้วาที  ชายดีกว่าหญิง ได้ฝ่ายชาย ควรเล่นประเด็นอะไรดีครับ” ในกระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ต้องการความคิดเห็นเพื่อไปเป็นข้อสนับสนุนประเด็นฝั่งของตนที่เสนอว่าเพศชายดีกว่าเพศหญิง โดยได้มีผู้มาแสดงความคิดเห็นว่า


    การแสดงความคิดเห็นลักษณะนี้เป็นการบ่งบอกว่าผู้แสดงความคิดเห็นมีความเชื่อว่า เพศชายย่อมจะต้องดีกว่าเพศหญิงแน่นอนอย่างไม่ต้องมีข้อสงสัยใด ๆ 

    ค่านิยมชายเป็นใหญ่ของคนไทยสะท้อนผ่านทางวรรณคดีหลายเรื่องอาทิเช่น ในประชุมโคลงโลกนิติ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มุ่งแสดงสัจธรรมของชีวิต รวมถึงสั่งสอนให้ผู้อ่านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้อง มีส่วนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า

                                                                                  (จาก ประชุมโคลงโลกนิติ)

    กลอนส่วนที่ตัดมานี้มีใจความแนะนำว่า หากผู้หญิงต้องการเกิดเป็นผู้ชาย จะต้องดูแลสามีให้ดี ส่วนผู้ชายหากอยากเกิดเป็นผู้ชายต่อๆไป ก็จะต้องไม่ผิดประเวณี ถึงจะไม่ได้มีการกล่าวตรงๆในกลอนว่าเพศหญิงมีสถานะที่ต่ำกว่า แต่ก็สามารถตีความได้ว่า สังคมให้ความสำคัญกับเพศชาย โดยมองว่าเป็นเพศที่สูงส่งกว่า ดังนั้นจึงควรทำความดีเพื่อให้ได้เกิดเป็นเพศชาย

    นอกจากนั้นค่านิยมนี้ยังมีบทบาทต่อการกำหนดสถานะในครอบครัว โดยจะเห็นได้ว่าฐานะของสามีที่ปรากฎในสังคมจะอยู่สูงกว่าภรรยา ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงสังคมแบบปิตาธิปไตยที่แท้จริง จิตสำนึกความเหนือกว่าของสามีนั้นฝังอยู่ในความคิดของคนไทยมาตั้งแต่อดีต อันเห็นได้จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วได้เป็นขุนแผน ขุนช้างได้นางวันทอง โดยเป็นเรื่องในตอนที่ขุนแผนพานางลาวทองมาหานางวันทองที่บ้าน นางวันทองเกิดความหึงหวงจึงมีปากเสียงกับนางลาวทอง จนสุดท้ายขุนแผนต้องเข้ามาปรามตามบทประพันธ์ดังนี้

    คำพูดดังกล่าวเป็นการเตือนให้นางวันทองเกรงใจตนผู้เป็นสามี โดยแสดงให้เห็นถึงการตระหนักว่าตนมีอำนาจในการควบคุมภรรยา รวมถึงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ดังนั้นเมื่อขุนแผนตัดสินใจพานางลาวทองมาแล้ว นางวันทองก็ต้องเคารพการตัดสินใจของขุนแผน



    ----------------------------------------


    จากประเด็นทั้งห้าที่ยกมาข้างต้นก็แสดงให้เห็นว่าค่านิยมเกี่ยวกับผู้หญิงบางประการที่พบในวรรณคดีไทยยังสามารถพบได้ในบางเหตุการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน คณะผู้จัดทำได้จัดทำงานชิ้นนี้ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะนำเสนอค่านิยมและบทบาทของผู้หญิงไทยในอดีตที่ยังคงปรากฎอยู่ในสังคมไทย เพื่อที่คนรุ่นใหม่จะสามารถเข้าใจ เรียนรู้และตั้งคำถามต่อการมีอยู่ของค่านิยมและบทบาทดังกล่าว ว่าสมควรแล้วหรือไม่ที่ค่านิยมเหล่านี้ยังคงอยู่ในสังคม และการที่ค่านิยมเหล่านี้ยังคงมีอยู่ในสังคมเท่ากับเป็นการบอกว่าค่านิยมเหล่านี้ดีพอจนสามารถดำรงอยู่ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหรือไม่


    หมายเหตุ : ในวรรณคดีไทยต่างเรื่องก็ต่างเล่าค่านิยมเดียวกันไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงไม่สามารถการันตีได้ว่าค่านิยมที่กล่าวมาในอดีตและปัจจุบันมีความเหมือนกันทุกประการ ค่านิยมที่ยกมาก็เป็นแค่ความเหมือนที่พบกันในฉากบางฉากของวรรณคดีไทยเท่านั้น

    อ้างอิง :

    1.  https://becommon.co/culture/thai-woman-guide/
    2. https://www.thairath.co.th/news/society/1380716
    3. https://teen.mthai.com/variety/152241.html
    4. https://thailitsxedu.wordpress.com/about__trashed3/
    5. http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=2866
    6. ณฐา, จ. (2018). ค่านิยมไทยในวรรณคดีประเภทบทละครที่คัดเลือกโดยราชบัณฑิตยสถานและการวิเคราะห์เชิงอุปลักษณ์. NIDA Development Journal, 58(1).

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in