เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจากเพื่อนๆNoi Beleza
คิดแบบ..สร้างสรรค์

  • คิดแบบสร้างสรรค์
    โดย กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
    หัวหน้าทีมอเวนเจอร์ของ SCB ("SCB10X")

    เราเชื่อว่าทุกคนต้องการ
    “คิดสร้างสรรค์”

    พื้นฐานความต้องการของมนุษย์
    คือการหลีกเลี่ยงทุก “ปัญหา” (Pain)
    และมองหาประโยชน์ (Gain)
    ให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น
    และกำหนดทุกอย่างในชีวิต
    ให้เป็นไปตามความต้องการ

    “ความคิดสร้างสรรค์”
    คือหนึ่งใน “เครื่องมือ”
    ที่จะช่วยให้เราลดทอนปัญหา
    และเพิ่มประโยชน์ให้กับชีวิต
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    พี่ต้อง - กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
    เจ้าของเพจ “แปดบรรทัดครึ่ง”
    เพจความรู้ธุรกิจ เล็ก สั้น ขยันอ่าน
    รวมถึงพอดแคสต์ที่กำลังโด่งดัง

    เขายังเป็นหัวหน้าทีม
    นวัตกรรมสร้างธุรกิจใหม่ ของ SCB
    ที่มีชื่อว่า SCB10X (เอส-ซี-บี-เท็น-เอ็กซ์)
    เป็นเสมือนทีมอเวนเจอร์ของคนในองค์กร

    และเป็นคนไทยเพียงไม่กี่คน
    ที่ผ่านโครงการบ่มเพาะนวัตกร
    Design Leadership จาก d.school
    ที่ Stanford University
    ประเทศสหรัฐอเมริกา
    เพื่อนำกลับมาปรับใช้ในการสร้าง
    นวัตกรรมภายในองค์กรขนาดใหญ่ของไทย...
    .
    .

    เปลี่ยนธุรกิจในกรอบให้ออกนอกกรอบ
    เราต่างรู้ดีว่าสถาบันการเงิน
    คือสถาบันเก่าแก่ที่ต้องการความน่าเชื่อถือ
    เป็นสถาบันที่มี Regulator
    ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

    สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป
    พฤติกรรมการใช้บริการธนาคาร
    ของผู้คนในวันนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล
    วันนี้สถาบันการเงินจึงต้องพยายามสร้าง
    “จุดเปลี่ยน” ใหม่
    เพื่อที่จะรักษาธุรกิจเอาไว้ให้ได้

    “Design Thinking" ไม่ใช่เรื่องยาก
    สิ่งที่สำคัญคือเมื่อเราต้องการแก้ปัญหา
    เราจะใช้อะไรแก้

    ผมเชื่อว่า Design Thinking
    ไม่ใช่แค่เรื่องกระบวนการ
    แต่มันเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้
    ไม่ใช่เรื่องที่รู้หรือไม่รู้
    แต่เป็นเรื่องที่คุณต้องทำให้เป็น

    เหมือนคนอยากขี่จักรยานเป็น
    เราไม่เรียนวิธีการขี่จักรยานจากหนังสือ
    แต่เราขี่เลย ฝึกขี่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็น

    คนที่จะสำเร็จ คือคนที่ตอนลงมือทำ
    ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะสำเร็จหรือเปล่า
    แต่เขาลงมือทำ

    สำหรับผมความล้มเหลว (Failure)
    กับการเรียนรู้ (Learning) เป็นเรื่องเดียวกัน
    คนที่จะสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้
    คือคนที่รู้คุณค่าของทั้งความสำเร็จ
    และล้มเหลว
    (Innovation happens
    when you reward both Success & Failure)

    อย่ากลัวที่จะเฟล ให้กลัวที่จะ
    พลาดโอกาสที่จะได้ลงมือทำดีกว่า
    เรียนรู้ที่จะมี Growth mindset
    ก็คือทำไปก่อน ผิดเดี๋ยวก็เรียนรู้

    แต่ถ้าคนที่บอกว่าต้องเก่งก่อนถึงจะทำ
    เขามี Fixed mindset ไม่เปิดแต่แรก
    ก็จะไม่ได้ทำอะไรเลย

    เราควรพร้อมที่จะทำแล้วพัฒนาไปกับมัน
    มองเรื่องล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมชาติให้ได้ก็พอ
    .
    .

    Design Thinking
    คิดให้เยอะ คิดให้มาก และจงสงสัยเสมอ

    หลายองค์กร หลายหน่วยงาน
    เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ
    กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
    หรือ Design Thinking กันมากขึ้น

    แต่ในเมื่อไม่มีอะไรที่เป็น “ยาวิเศษ”
    แก้ไขได้ทุกปัญหา
    แล้วทำไม Design Thinking
    จึงเป็น “เครื่องมือ” ที่ดีสำหรับกวีวุฒิได้

    บางคนเวลาไปเรียน Design Thinking
    นี่รู้หมดว่ามันมี 5 ขั้นนะ เริ่มจาก
    Empathize, Define, Ideate
    Prototype & Test

    แต่ถ้าคุณใช้ผิดตั้งแต่เริ่ม
    มันก็ไม่ช่วยอะไร
    คนที่ชอบกระบวนการ
    คือคนที่ไม่ชอบทำผิด
    แล้วเมื่อเขาทำพลาด
    เขาก็มักจะโทษว่าผิดที่กระบวนการ
    ไม่ใช่ตัวเอง

    เราต้องเข้าใจใหม่ว่า
    Design Thinking
    มันคือการหาปัญหาที่ถูกต้อง
    เพื่อที่จะแก้มันให้ตรงจุด
    (Find the right problem to solve)
    ฉะนั้นอย่าเพิ่งแก้ปัญหา
    ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร
    .
    .

    สตาร์ตอัพหลายรายที่ตกม้าตาย
    เพราะเขาไม่รู้ว่าปัญหาคืออะไร
    ก็สร้างสิ่งที่เขาคิดเองว่าคนต้องการขึ้นมา
    ซึ่งมันไม่ใช่ ไม่มีใครต้องการ

    สมมติเราจะผลิตแปรงสีฟันสำหรับเด็ก
    บางคนอาจจะคิดว่า
    เราต้องทำให้มันขนาดเล็กๆ
    เพราะเด็กมือเล็ก ปากเล็ก ฟันเล็ก

    แต่จริงๆ แล้วบริษัทที่เขาผลิตแปรงสีฟันเด็ก
    ที่เข้าใจปัญหาของลูกค้าจริงๆ
    เขาจะผลิตแปรงสีฟันที่มีด้ามจับใหญ่
    เพราะเด็กยังไม่มีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรงพอ
    หรือควบคุมได้ดีพอที่จะจับแปรงที่มีด้ามเล็กๆ

    หรือทำไมเราต้องสร้างสะพาน
    คนอาจจะไม่ได้ต้องการสะพานนะ
    สิ่งที่เขาต้องการ ปัญหาของเขาจริงๆ
    คือการข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งให้ได้
    ฉะนั้นมันไม่จำเป็นต้องเป็นสะพาน
    มันจะเป็นอะไรก็ได้อีกล้านแปดอย่าง
    .
    .

    การจะเข้าใจปัญหาของผู้อื่น
    ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
    ผมบอกได้เลยว่าโลกจะเข้าใจกันมากขึ้น
    เมื่อเรามองในมุมของคนอื่นได้

    การที่ใครจะเดินข้ามไปมอง
    ในมุมของใครก่อน
    นั่นคือทัศนคติ
    สิ่งที่ถูกต้องมันไม่ได้มีแค่สิ่งเดียว
    เพราะว่าถ้าคนสองคนทำงานแล้ว
    มองแต่ในมุมตัวเอง ก็คุยกันไม่จบ

    คนเรามองกันคนละมุม
    ก็มีความถูกต้องกันคนละอย่าง
    การทุ่มเถียงกัน
    อาจจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเสมอไป

    ผมบอกทีมเสมอว่า
    จงถาม Why
    อย่าถาม How

    ต้องฝึกเป็นคนช่างสงสัยเพิ่ม
    เพิ่มความคิดสร้างสรรค์
    เพราะวิธีที่ดีที่สุด
    ที่คุณจะได้ไอเดียที่เวิร์ก
    คือการมีไอเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    เวลาทีมผมประชุมงาน
    ผมจะบอกเลยว่า 200 ไอเดียใน 20 นาที
    คือคิดให้เยอะที่สุดก่อน
    คิดในทุกทางที่อาจเป็นไปได้
    เพราะความหลากหลายสำคัญที่สุด
    .
    .

    เข้าใจลูกค้า เชื่อมั่นคนรอบข้าง
    และเข้าใจตัวเอง

    เมื่อถามว่าถ้าจะเริ่มคิดแบบ
    Design Thinking
    ต้องเริ่มจากอะไร

    สิ่งที่กวีวุฒิตอบคือ :
    ต้องทำครับ ทำตั้งแต่วันนี้
    หลักง่ายๆ ของมันคือ
    Ask - Think - Act
    เข้าใจลูกค้า – คิดนอกกรอบ – ลงมือทำ เท่านั้นเอง

    แล้ว Design thinking
    ก็ไม่ควรทำใหญ่
    ควรทำเล็กๆ ให้สำเร็จก่อน
    เป็นหลักแบบ Think big, start small
    เพราะว่าถ้าทำใหญ่
    แล้วทำไม่สำเร็จ มันเสียของ

    แต่ถ้าทำเล็กๆ แล้วค่อยๆ รวม
    คนที่อยากทำมาเพิ่มจะดีกว่า
    เพราะ Design thinking
    เป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องอธิบาย

    ยิ่งอธิบายก็ยิ่งงง มี 2 แบบ
    คือ งงมาก กับ ไม่เห็นมีอะไรเลย
    แต่ถ้าทำถูกวิธี มันจะเปลี่ยนวิธีมองโลก (Mindset) หรือเปลี่ยนชีวิตไปเลย
    .
    .

    การเปิดใจกว้าง
    ย่อมทำให้เราเข้าใจผู้อื่น
    เช่นเดียวกับธุรกิจ
    ที่ต้องเข้าไปนั่งในใจของลูกค้า
    เพื่อที่จะขายสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าได้

    ทีมงานผมทุกคนต้องมีทักษะเรื่อง
    Empathy (การเข้าอกเข้าใจผู้อื่น)
    ขณะที่โจทย์ของทุกธุรกิจก็คือการทำเงิน
    อันนั้นชัวร์อยู่แล้ว

    แต่ธุรกิจที่ยั่งยืนจะต้องเริ่มจาก
    การแก้ปัญหาให้คน
    เพราะฉะนั้นคนอยู่ไหน ก็ไปหา
    ไปคุย ไปทำความเข้าใจ
    การใช้เวลากับลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
    ไม่มีคำว่าเสียเวลา
    มีแต่คำว่า value (คุณค่า)

    เช่นเดียวกับการทำงานกับทีม
    หน้าที่ของการทำงานนวัตกรรม
    คือการเลือกคนให้ถูก แล้วให้อิสระ

    ผมบอกน้องในทีมอย่างเดียวว่า
    พวกเขาเก่งกว่าผม
    ผมเลือกมาเพราะเขาเก่งกว่าผม
    เขารู้ในสิ่งที่ผมไม่รู้

    ฉะนั้นผมเชื่อมั่น (trust) ให้เขาตัดสินใจ
    แต่ถ้าวันไหนผมไม่ trust
    ก็เปลี่ยนคน จบ ผมไม่ทู่ซี้มาเทรน
    เพราะมันยากที่จะเปลี่ยนคน

    ซึ่งจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกรณีนี้นะ
    ผมจึงให้ความสำคัญกับการเลือกคนมาก
    ทุกอย่างเร็วได้หมดยกเว้นเลือกทีม
    .
    .

    อีกอย่างคือถ้าคุณทำงานในองค์กร
    คุณก็ต้องเชื่อในองค์กร (corporate)
    เพราะบางทีมันก็ไม่ได้แย่

    ถ้ามองในมุมผม
    ผมว่าเมืองไทยจะเปลี่ยนได้
    ถ้าองค์กรใหญ่ๆ เปลี่ยน แค่นี้เองนะ
    นี่คือความเชื่อของผม

    ในส่วนของสตาร์ทอัพผมก็เชื่อว่าดี
    แต่ผมไม่คิดว่าในระยะเวลาอันใกล้
    เขาจะเปลี่ยนประเทศได้
    มันทำไม่ทันครับ

    จีนเข้ามาแล้ว
    ผมอยากเปลี่ยนประเทศ
    โดยเฉพาะธุรกิจธนาคาร
    ผมอยากเปลี่ยนตอนที่ยังแข็งแรง

    องค์กรใหญ่ไม่ได้มีอะไรที่ไม่ดี
    องค์กรมีทรัพยากรเยอะ มีพาวเวอร์
    ถ้าองค์กรใหญ่ๆ เปลี่ยน
    ผมว่าประเทศก็เปลี่ยน
    .
    .

    แล้วเราจะใช้ Design Thinking
    ในชีวิตประจำวันกันยังไง ..

    วิชาที่ผมเรียนที่ Stanford แล้ว
    ผมชอบมากที่สุดคือ
    Designing your life นะครับ

    มันคือการใช้ Design Thinking
    กับชีวิตตัวเอง
    ก็คือการที่เราพยายามเข้าใจคนอื่น
    ก็เหมือนเข้าใจตัวเอง
    ทดลองทำสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ
    แล้วกลับมาปรับ ได้ลองโน่นลองนี่

    พอดแคสต์เป็นหนึ่งตัวอย่าง
    ทำเพจเป็นหนึ่งในตัวอย่าง
    สอนหนังสือเป็นหนึ่งในตัวอย่าง

    ตอนที่ผมจะทำ มีแต่คนบอกว่าทำทำไม
    พอทำไปแล้ว มีแต่คนบอกอยากทำ
    แต่คนพวกนั้นเขาเป็นคนดูครับ
    เขาไม่ทำหรอกครับ เขาพูดอย่างเดียว

    เราไม่อยากเป็นคนแบบนั้น
    แล้วชีวิตมันมี innovation ของมัน
    เราได้ทำของใหม่ตลอด
    ไม่มีใครมาห้ามเรา
    เพราะฉะนั้นจงใช้ชีวิตให้เป็น Prototype
    แล้ว Prototype ที่ดีคือ Creativity

    แล้วการทดลองไปเรื่อยๆ
    มันคือการลดความเสี่ยงในชีวิตคุณ
    นี่คือการใช้ Design Thinking
    กับชีวิตแบบ 100%

    Cr : “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
    สำหรับสร้างนวัตกรรม”
    โดย กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
    หัวหน้าทีม SCB 10X, SCB

    https://www.facebook.com/onceapassion/

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in