เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
The ListTeepagorn W.
Right to Explanation, EU Legislation towards Machine Learning
  • ขณะที่กฎหมายอินเทอร์เนตก็ไทยก็อย่างที่รู้ๆ กัน ไปดูกฎหมายของ EU กันว่าไปถึงไหนแล้ว

    ตอนนี้ EU กำลังวางกฎระเบียบใหม่สำหรับการเก็บ, จัดเก็บและการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งกฎนี้จะบังคับใช้เต็มรูปแบบในปี 2018 สาระสำคัญเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืม ที่ก็ถกเถียง โต้เถียงกันมาพอสมควรแล้ว นั่นคือสมมติเราต้องการให้บริษัทลบข้อมูลของเราออกจากระบบ เช่น จากผลการค้นหาเมื่อเซิร์ชชื่อเรา ต้องทำได้ โดยบริษัทที่ไม่ทำตาม จะต้องจ่ายค่าปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร หรือไม่ก็ 4% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท (ทั่วโลก) ซึ่งเยอะมาก

    แต่สิ่งใหม่ที่น่าสนใจพอๆ กับ Right to be forgotten ก็คือ Right to explanation แปลว่า บริษัทต่างๆ จะต้อง "สามารถอธิบายได้" ว่าทำไมจึงปฏิบัติกับผู้ใช้ต่างๆ กัน ถ้ามีการใช้ 'ระบบตัดสินใจอัตโนมัติ' (Automated Decision)

    นั่นคือ สมมติว่าถ้าบริษัทไหนใช้อัลกอริธึมในการ personalize บริการให้ลูกค้า จนทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่แตกต่างกันแล้ว (เช่น Amazon แนะนำหนังสือให้ลูกค้าต่างกัน หรือ Netflix หรือ Facebook แสดงฟีด) หากลูกค้าต้องการ บริษัทจะต้องอธิบายได้ด้วย (The rules give EU citizens the option of reviewing how a particular service made a particular algorithmic decision.)

    นี่เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอัลกอริธึม หรือยิ่งกว่านั้นคือ neural network เป็นสิ่งที่โคตรยาก จนคิดว่าวิศวกรที่ออกแบบมันมาก็ไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดด้วยซ้ำ เพราะมันประกอบด้วยตัวแปรข้อมูลจำนวนมาก และการทำงานที่ไม่ได้เป็นสเต็ป 1,2,3 แต่เวียนไปเวียนมาจน 'ถึงอธิบายไปก็ไม่เข้าใจ' จนทำให้เป็นอย่างที่หลายๆ คนบอกนั่นแหละว่าปัจจุบันเราอาศัยอยู่ในสังคมกล่องดำ หรือ Black Box Society คือเรารู้ว่าเราใส่อะไรไปในกล่อง แล้วเราก็รู้ว่าจะได้อะไรออกมาจากอีกข้างของกล่อง แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าในกล่องทำงานอย่างไร

    นักวิจัยจาก Oxford ซึ่งช่วยร่างกฎของ EU นี้บอกว่า จริงๆ แล้วกฎนี้ก็เปิดให้ตีความด้วย (เช่น ศาลอาจตัดสินว่า neural network เป็นการประมวลผลทางด้านสถิติ ไม่ใช่ automated decision ที่เขียนไว้ในกฎ) แต่ก็น่าจับตามองอยู่ดีว่า แล้วกฎนี้จะไปกระทบกับวงการ Deep Learning อย่างไร

    โดยส่วนตัวก็รู้สึกว่า ถ้าบริษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบที่จะอธิบายว่าทำไมสิ่งนี้จึงเป็นอย่างนั้นกับเราได้ก็ดี แต่ว่ามันดูเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุผลอย่างที่บอกไปแล้ว ว่าอัลกอริธึมสมัยนี้มีความซับซ้อนสูงมากจนแม้แต่คนที่เขียนมันขึ้นมาก็ไม่อาจเข้าใจได้ทั้งหมด

    ไปอ่านต่อ >  http://www.wired.com/2016/07/artificial-intelligence-setting-internet-huge-clash-europe/" target="_blank">
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in