เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
WRITER'S TASTE By อุทิศ เหมะมูล
  • รีวิวเว้ย (1450) ในยุคสมัยของโรคระบาดและในช่วงเวลาที่ระบบจัดการสาธารณะสุขเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ความสะอาดของอาหารและน้ำ (ดื่ม) กลายเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นของผู้คน โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่ร่วมกันในชุมชนที่มีลักษณะของความเป็นเมือง โรงระบาดที่ฆ่าชีวิตผู้คนที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งของโลกในยุคอดีต เมื่อความสะอาดและอนามัยทางอาหารเป็นสิ่งสำคัญการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาความไม่สะอาดของอาหารและน้ำจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนในยุคนั้นต้องหาทางเอาชีวิตรอดด้วยตัวเอง กระทั่งนักบวชในศาสนาคริสต์เองก็ต้องหาวิธีจัดการกับเรื่องดังกล่าวด้วยการอาศัยโบสถ์เป็นสถานที่ในการผลิตเครื่องดื่มอย่างเบียร์ที่ต้องมีการนำเอาน้ำไปต้มและผ่านกระบวนการเพื่อให้น้ำดื่มมีความสะอาด กระทั่งกลายมาเป็นภาพจำของ "เบียร์พระทำ" ในยุโรปที่ยังคงมีสืบต่อมากระทั่งปัจจุบัน ยังคงมีโบสถ์คริสต์บางแห่งยังคงดำเนินการทำเบียร์และขายเบียร์โดยโบสถ์อยู่ แน่นอนว่าเรื่องเล่าหลังเครื่องดื่มมีฟองอย่างเบียร์มิได้มีแค่เรื่องของการจัดการความสะอาดด้านน้ำและอาหาร แต่เบียร์ยังคงมีเรื่องเล่าและเรื่องราวอีกหลากหลายประการที่เก็บซ่อนอยู่ภายใต้พรายฟองของเครื่องดื่มชนิดนี้
    หนังสือ : WRITER'S TASTE
    โดย : อุทิศ เหมะมูล
    จำนวน : 254 หน้า
    .
    "WRITER'S TASTE" ในชื่อไทยว่า "ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 นี้ จัดทำขึ้นในวาระครบรอบ 10 ปีของการพิมพ์ "WRITER'S TASTE" นับจากการพิมพ์ครั้งที่ 1 แน่นอนว่าเนื้อหาในหลายส่วนของ "WRITER'S TASTE" ได้มีการเพิ่มเติมเพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยโดยเฉพาะยุคสมัยของการตื่นเบียร์ในสังคมไทยที่ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วง พ.ศ. 2555 ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ อีกทั้งเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในโลกการผลิตเบียร์ (คราฟต์) ในไทย
    .
    "WRITER'S TASTE" หนังสือที่บอกเล่าและว่าด้วยเรื่องของเบียร์ ที่มากไปกว่าเรื่องของการแนะนำการดื่ม หากแต่เนื้อหาในเล่มของ "WRITER'S TASTE" บอกเล่าถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ความท้าทายของสังคมหลายแห่งต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกของเบียร์
    .
    "WRITER'S TASTE" แบ่งเนื้อหาออกเป็น 19 เรื่องราวและเรื่องเล่าเกี่ยวกับเครื่องดื่มมีฟองแก้วสำคัญที่ปรากฏขึ้นมาเนินนานนับตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ โดยเนื้อหาทั้ง 19 เรื่องมีดังนี้
    .
    1) ศิลของศิลป์ (ศิลปะของโลกเมรัย)
    .
    2) เมรัยประเทศ (ประเภทของเบียร์)
    .
    3) สี/ค่าความขม/แอลกอฮอล์
    .
    4) ฮอปส์หลายสายพันธุ์หลากรสชาติ
    .
    5) ประเภทของมอลต์
    .
    6) ดื่มประวัติศาสตร์จิบวิวัฒนาการ
    .
    7) พระผู้รู้ ผู้ดื่ม ผู้เบิกบาน
    .
    8) ฆราวาส: ผู้ครองเรือนหมักเบียร์
    .
    9) ดั่งทุ่งรวงทองหอมจรุง
    .
    10) เบียร์ของชนแรงงาน (ยาใจคนยากจน)
    .
    11) อเมริกา: โลกใหม่ของเบียร์
    .
    12) Brewdog กับ Mikkeller ขบถจากยุโรป
    .
    13) เบียร์สด หรือ เบียร์ขวด ?
    .
    14) Ji Biru และ Kurafuto Bia
    .
    15) ศิลปะ คราฟต์เบียร์ และเกียวโตสองฤดู
    .
    16) Chit Beer กับ Sandport Beer และโฮมบริวอื่น ๆ ของไทย
    .
    17) เสรีภาพในการทำและดื่มเบียร์ของประชาชนไทย
    .
    18) Uthis × Eleventh Fort Brewing
    .
    19) Tasting Note (บันทึกสั้น ๆ หลังดื่ม รวบรวมจากที่โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊กของผู้เขียน)
    .
    การได้อ่าน "WRITER'S TASTE" ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องเล่าของเบียร์ในมุมมองที่นอกเหนือไปจากค่านิยมและความเชื่อของสังคมไทย ที่หลายครั้งเครื่องดื่มในกลุ่มนี้ถูกจัดให้เป็นเครื่องดื่มของคนบาป อย่างกรณีที่ปรากฏในเรื่องเล่าของ "อสูร" ที่มีเรื่องราวเกี่ยวโยงกับสุราและข้อเสียของการดื่มสุรา ซึ่งเรื่องเล่าต่าง ๆ เกี่ยวกับเหล้าและเบียร์ในสังคมนี้มักถูกทำให้เป็นสิ่งบาปและเรื่องต้องห้าม แต่ "WRITER'S TASTE" ได้สะท้อนมุมมองและเรื่องเล่าที่แตกต่างออกไปจากชุดเรื่องเล่าและชุดความเชื่อหลักของสังคมไทย ด้วยการเปิดและเชื่อมโลกของเบียร์เข้ากับประวัติศาสตร์ของโลกและสังคม

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in