เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม By ภูริ ฟูวงศ์เจริญ
  • รีวิวเว้ย (1409) "การเลือกตั้ง" นับเป็นกระบวนการสำคัญประการหนึ่งของการปกครองในระบบประชาธิปไตย (แต่ก็ใช่ว่าระบอบการปกครองแบบอื่น ๆ จะไม่มีการเลือกตั้ง) อันเนื่องมาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่จะทำให้ผู้คนได้แสดงความเห็นของตนเอง ผ่านกลไกอย่างการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แน่นอนว่าในปัจจุบันรูปแบบ วิธีการ แนวทาง กระบวนการ ขั้นตอน ของการจัดการเลือกตั้งอาจจะเปลี่ยนไปตามบริบทและพลวัตของแต่ละแห่งแต่ละสังคม หากแต่หลักใหญ่ใจความของการเลือกตั้งยังคงอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนผ่านการใช้สิทธิผ่านกลไกของการจัดการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งก็ยังคงมีข้อจำกัดในตัวเอง ทั้งจากระบอบการปกครองที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสนับสนุนกลไกและกระบวนการในการเลือกตั้ง หรือกระทั้งบริบทของแต่ละสังคมเองก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อ "การเลือกตั้ง" เช่นนั้นการทำความเข้าใจบริบทอื่น ๆ ที่เกี่ยวโยงสืบเนื่องกับการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน ดังนั้นการย้อนกลับไปศึกษาถึงพัฒนาการของการเลือกตั้งหนแรกก็เป็นสิ่งพึงกระทำไม่ต่างกัน
    หนังสือ : การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475
    โดย : ภูริ ฟูวงศ์เจริญ
    จำนวน : 256 หน้า
    .
    "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "ประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของสยาม" ที่ถูกเรียกว่าเป็นการเลือกตั้งที่เริ่มต้นด้วยความเท่าเทียมทางเพศของบุคคล ซึ่งหลายคนมองว่าเรื่องการเลือกตั้งของสยาม ณ ช่วงเวลาดังกล่าวก่าวหน้ายิ่งกว่าประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานเสียอีก ซึ่งหนังสือ "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" กำลังบอกกับผู้อ่านว่าเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจของการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยามยังมีเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่าการให้สิทธิหญิง-ชาย ในการลงคะแนนอย่างเสมอหน้า
    .
    หากแต่บริบทที่ปรากฏอยู่โดยรอบ "การเลือกตั้งทั่งไปครั้งแรกของสยาม" ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันอย่างเสียมิได้ หากแต่ในหลายเรื่องหลายเหตุการณ์ก็มิได้ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญ โดยที่ "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" ชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของงานศึกษาในโลกวิชาการภาษาไทย ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญและสนใจในเรื่องของ "การเลือกตั้ง" ที่ก่อร่างระบบเลือกตั้งของสยามถึงไทยเท่าไหร่นัก
    .
    สำหรับการนำเสนอเนื้อหาของ "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เขียนถึงเอาไว้ดังนี้ "...หนังสือเล่มนี้วางเป้าหมายไว้แค่ประการเดียวเท่านั้น นั่นคือเพื่อเรียบเรียงประวัติศาสตร์การเลือกตั้งครั้งแรกทั่วไปของสยามเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยเน้นจัดการคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ (1) การเลือกตั้งดำเนินไปอย่างไรนับแต่ต้นจนจบ (2) ชนชั้นนำหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีมุมมองและท่าทีเช่นไร แต่การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง และสุดท้าย (3) ประชาชน ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิออกเสียง ได้เคลื่อนไหวกันในลักษณะใดบ้าง" -- (น. 10)
    .
    ซึ่งเนื้อหาในแต่ละบทของ "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" นับเป็นการฉายภาพพัฒนาการของการเลือกตั้งทั่งไปครั้งแรกของสยาม ผ่านการบอกเล่าด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ ที่นำเสนอและถ่ายทอดเรื่องราวผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นต่าง ๆ ที่เรียงต่อเนื่องกันไปนับตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กระทั่งถึงเรื่องของผลสืบเนื่องที่ติดตามมาจากการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกขึ้น โดยเนื้อหาของหนังสือแบ่งออกเป็น 6 บท ดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ
    .
    บทที่ 2 การเลือกตั้ง ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
    .
    บทที่ 3 การสถาปนาระบบเลือกตั้งช่วงเปลี่ยนผ่าน
    .
    บทที่ 4 วิกฤตการณ์ทางการเมืองกับการเลือกตั้ง
    .
    บทที่ 5 ผู้สมัคร วันหย่อนบัตร และผลสืบเนื่อง
    .
    บทที่ 6 บทสรุป
    .
    "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" ทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึง และได้เข้าใจในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้งทั่วไปหนแรกของสยามภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนั้น "การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของสยาม: ปฐมบทประชาธิปไตยหลังการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475" ยังได้สร้างบทสนทนาให้กับผู้อ่านในอีกหลายช่วงหลายตอนของหนังสือ ที่เป็นเรื่องสำคัญของการจัดการเลือกตั้ง ทั้งเรื่องของการเลือกตั้งกับเหตุการณ์ความไม่สงบหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สัดส่วนของผู้ที่ลงสมัครเป็นตัวแทนในช่วงแรกเหตุในจึงเชื่อมโยงอยู่กับบางอาชีพเป็นสำคัญ และอีกหลายประเด็นที่หนังสือเล่มนี้วางเอาไว้ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาต่อไปในภายหน้า เพื่อให้ภาพของ "การเลือกตั้งจากสยาม-ไทย" มีความกระจ่างและชัดเจนยิ่งขึ้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in