เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย By โดม ไกรปกรณ์
  • รีวิวเว้ย (1346) หลายปีก่อนสังคมไทยสั่นสะเทือนไปด้วยกระแสของการลุกขึ้นมาร้องและเต้นให้กับเพลง Koisuru Fortune Cookie ของวง BNK48 ที่เป็นวงไอดอลที่มีรูปแบบมาจากประเทศญี่ปุ่นอย่าง AKB48 และอีกหลากหลายตัวย่อ กระทั่งในช่วงเวลานั้นจนถึงช่วงเวลานี้ (2566) กระแสของวงไอดอลได้ฝังรากเข้าไปในสังคมไทยในหลายพื้นที่ กระทั่งพื้นที่ต่างจังหวัดหรือจะใช้คำเรียกว่า "ท้องถื่น" ในประเทศไทยก็มีวงไอดอลของตัวเองในชื่อ CGM48 วงไอดอลเมืองเหนือที่มีการปรับใช้วัฒนธรรมไอดอลให้เข้ากับภาพของความเป็นพื้นที่และพื้นถิ่น ผ่านการสร้างบทเพลงภาษาเมืองและอีกหลายรูปแบบของการผูกโยงเอาขนบ วิธีแงะวิถีของความเป็นพื้นถิ่นและท้องถิ่นเข้ามาสู่วัฒนธรรมไอดอล แน่นอนว่าความน่าสนใจประการหนึ่งของการเข้ามา การเกิดขึ้นและการแพร่กระจายของวัฒนธรรมไอดอลในสังคมไทยมันเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วมันส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในสังคมนี้อย่างไร
    หนังสือ : BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์
    โดย : โดม ไกรปกรณ์
    จำนวน : 124 หน้า
    .
    "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" หนังสือที่เป็นผลผลิตของงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของวัฒนธรรมไอดอลในประเทศไทยผ่านวัตถุศึกษาอย่างวง BNK48 และ CGM48 ที่ผู้เขียนตั้งใจนำเสนอภาพแทนของวงไอดอลไทยกับภาพจำในเรื่องของวัฒนธรรมร่วมสมัย และความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมร่วมสมัยในสังคมไทย
    .
    เนื้อหาของ "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" แบ่งออกเป็น 1 บทนำ และ 5 บทตามที่ในแต่ละบทจะบอกเล่ามุมมอง การศึกษาวิเครมะห์และการพิจารณาวัฒนธรรมไอดอลในประเทศไทย ผ่านการศึกษาวัฒนธรรม BNK48 ที่เกิดขึ้นและสร้างกระแสความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่งในสังคมไทย กระทั่งเมื่อ BNK48 สามารถหยั่งรากทางวัฒนธรรมในสังคมไทยได้แล้ว "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" ได้ขยายขอบเขตการศึกษาในบทที่ 4 ออกไปสู่วงไอดอลที่ขยายฐายออกไปสู่ภูมิภาคอย่าง CGM48 โดยเนื้อหาของ "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทนำ อ่าน "BNK48" ทำความเข้าใจสังคม-วัฒนธรรมไทยร่วมสมัย : ข้อชวนพินิจ
    .
    (1) ธุรกิจศิลปินไอดอล BNK48 ในกระแสความซบเซาของธุรกิจเพลงไทย : ประวัติศาสตร์ธุรกิจบันเทิงไทยร่วมสมัย
    .
    (2) BNK48 ฟีเวอร์ ปรากฏการณ์ที่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้แก่โอตาคุ : บททดลองเสนอว่าด้วยประวัติศาสตร์ของคนชายขอบทางวัฒนธรรมในสังคมไทยร่วมสมัย
    .
    (3) วัฒนธรรมความบันเทิงและชุมชนของแฟนคลับในโลกดิจิทัล : กรณีศึกษาแฟนคลับ BNK48
    .
    (4) แปลงวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นไทยและท้องถิ่นเหนือ : โลกาภิวัฒน์ทางวัฒนธรรมในเพลงและมิวสิควีดีโอของศิลปินไอดอลวง BNK48 และ CGM48
    .
    (5) บทส่งท้าย
    .
    "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" ทำให้เรามองเห็นพลวัตและความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ วิธีการ และวิถีของวัฒนธรรมร่วมสมัยในสังคมไทยได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งเมื่อมองวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ ผ่านกรอบคิด ทฤษฎี ด้วยสายตาและวิธีการดังที่ปรากฏอยู่ใน "BNK48 วัฒนธรรมบันเทิงใหม่ในสังคมไทยร่วมสมัย : ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์" ไม่แน่ว่าเราอาจจะปรับใช้แนวคิดและวิธีการมองต่าง ๆ เหล่านี้ให้เข้ากับวัฒนธรรม "แฟนด้อม" ในทางการเมืองได้ด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ ด้อมส้ม ด้อมเพื่อไทย ด้อมนางแบก หรือกระทั่งด้อมลุง อาจเรียกได้ว่า "ด้อมการเมือง" ก็เป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงของวิถีของวัฒนธรรมร่วมสมัยในสังคมแห่งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&opi=89978449&url=https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/24810/1/His-Dome-K.pdf&ved=2ahUKEwjgmOWv3sSAAxVpbmwGHes-D4kQFnoECCMQAQ&usg=AOvVaw1H4QcelNgsTDogyl7b2-7E

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in