เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Bigdream articleKarn Nikrosahakiat
การมีส่วนร่วมของประชาชน
  • การมีส่วนร่วมของประชาชน : ประชุมสภาในฐานะที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการคณะพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ของผมนั้นได้เข้าร่วมแบบพยายามทำประโยชน์ให้กับประเทศมากที่สุด แต่ว่าคาดหวังกับมันมากกว่านี้ในอนาคต หากมีโอกาสได้เข้ามาทำงานอีก บทความนี้คงเป็นการบันทึกสั้น ๆ ของการทำงานในคณะกรรมาธิการ หลังจากที่ จัดอีเว้นท์ TEDx ที่ บางขุนเทียน จบไป

    การมีส่วนร่วมของประชาชน

    ผมได้เข้าร่วมคณะกรรมาธิการนี้หลังจากจบการทำงาน TEDxBangKhunThian ดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งดูจากชื่อคณะกรรมาธิการแล้ว เป็นความตื่นเต้นสำหรับผมไม่ใช่น้อยเลยเพราะการได้มีส่วนร่วมหรือการออกแบบกฎกติกา ที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้คือสังคมอุดมคติของผมเลยล่ะครับ แต่ข้อจำกัดมันก็มีเพราะประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่ใช่ประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว (Developed Country) การมีส่วนร่วมของประชาชน อาจจะลดน้อยลงกว่าการมีส่วนร่วมของกลุ่มประเทศที่ไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ของตนแล้ว อย่างไรก็ดีการที่ประชาชนมีรายได้ต่อประชากรต่อหัวไม่สูงมากนั้นก็ไม่ได้แปลว่าประชาชนจะไม่มีส่วนร่วมในหัวข้อของสังคมในประเด็นต่าง ๆ ในกรณีนี้เราได้เห็นการส่วนร่วมของกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาสอดคล้องกับประเด็นที่ส่งผลกระทบกับปัญหาปากท้องของตนโดยตรง และในขณะเดียวกันผมยังเจอกลุ่มประชาชนที่เรียกได้ว่าเป็น Active Citizen ที่ร่วมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาเมืองในหัวข้อต่าง ๆ อีกด้วย


    ประชุม กรรมาธิการ ขยะล้นกาญจนบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่อาคารรัฐสภาเกียกกาย ห้อง N407

    กลับมาที่การประชุมคณะกรรมาธิการครั้งสุดท้ายในสมัยนี้ฐานะที่ปรึกษา เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการกำจัดขยะที่ระดับมหึมาในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีกลุ่มประชาชนในพื้นที่จำนวนหนึ่งส่งคำร้องถึงผลกระทบ ทั้งด้านมลภาวะทางกลิ่น ความสะอาด และด้านอื่น ๆ ส่งผลให้มีคนท้องเสียจำนวนมากจากการเพิ่มขึ้นของพาหะนำโรคอย่างแมลงวันซึ่งกินสิ่งปฏิกูลในขยะเป็นอาหารและนำไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ทางคณะกรรมาธิการได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งการประชุมที่ผมเข้าร่วมถือว่าประสบความสำเร็จ เหตุผลเพราะว่าการดำเนินการนั่นได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยผมจะเล่าเรื่องย่อ ๆ นั่นก็คือ มีพื้นที่หนึ่งในกาญจนบุรี โดนลอบทิ้งขยะมาเกือบ 30 ปี ซึ่งมีขยะเป็นล้านตันที่บ่อขยะเชิงเขาทอง ซึ่งความเป็นพิษ Chemical Oxygen Demand หรือเรียกย่อๆ ว่า COD คือค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ แสดงความสกปรกของน้ำเสียจากบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม สูงถึง 1,700 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่ง ปรกติมันจะอยู่ราว ๆ 400 มิลลิกรัมต่อลิตร และช่วงพีคก่อนหน้านี้พุ่งไปสูงถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร

    ซึ่งการปฎิบัติการหลังจากการประชุมนำมาซึ่งข้อตกลงที่ทำให้หยุดการทิ้งขยะเพิ่มในพื้นที่ ซึ่งดำเนินการทันทีเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการจัดการขยะเก่า และบริหารจัดการขยะ ไปยังโรงงานกำจัดขยะในพื้นที่อย่างน้อยสองโรงงานที่สามารถกำจัดขยะได้ ซึ่งโรงงานกำจัดขยะในกาญจนบุรีนั้น รับขยะจาก กรุงเทพมหานครไปกำจัด 100% โดยไม่มีขยะที่มาจากส่วนอื่นเลย

    จากการทำงานเห็นข้อสังเกต

    ในปัจจุบัน การมีส่วนร่วมของประชาชน ของประเทศไทยเกิดมาจากการได้รับปัญหาโดยตรงซึ่งนำมาซึ่งผู้คนออกมาเรียกร้อง ทั้งด้านการเมือง สิ่งแวดล้อม หรือการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หลังจากเห็นปัญหาแล้วจึงเรียกร้องให้แก้ไข โดยวิธีต่าง ๆ การทำแคมเปญหรือการรณรงค์ ประชามติ รวมทั้งยื่นข้อเสนอ

    ในมุมมองของผมนั่นคิดว่าการเริ่มต้นแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วที่ดึงประชาชนทุกภาคส่วน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมได้ และหากเราเห็นปัญหาและทางแก้ไขย่อมเป็นเรื่องที่ดี

    อุดมคติของ การมีส่วนร่วมของประชาชน

    ในอุดมคติของผม สังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้จะช่วยให้เราลดความกังวลให้กับผู้คนในเรื่องการหาเลี้ยงชีพและการเป็นอยู่ จะเห็นการมีส่วนร่วมของผู้คนที่เห็นโอกาส โอกาสที่สามารถนำไปสู่การเติบโตและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยเป็นตัวก้าวข้ามช่องว่างที่แบ่งกันอยู่ในปัจจุบัน

    การมีส่วนร่วมของผู้คนในการแก้ไขปัญหาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ผมเชื่อว่าการมีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสและการเปลี่ยนแปลงจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้น ผมอยากเห็นผู้คนเล่นเกมบนหน้ากระดานใหม่ เพื่อให้สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดดได้มากขึ้น และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงมุมมองจะช่วยเราในการถึงจุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    บทสรุปแล้ว

    การเข้าไปทำงานในรัฐสภาวันสุดท้าย ทำให้เห็นถึงช่องว่าง พื้นที่ที่ยังมีโอกาสเติบโตของประเทศอีกมาก ถ้าเราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บุคลากรในประเทศ การพัฒนาความรู้และระบบการศึกษาควบคู่ไปกับการลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า ประเทศของเราดีขึ้นได้

    การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ดีที่สุด คือประชาชนเห็นโอกาสแห่งอนาคต และร่วมมือในการสร้างมัน

    Karnnikro – คำคม
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in