เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
#squarreadsquarrium
[Review] วันสุดท้ายของนักโทษประหาร


  • วันสุดท้ายของนักโทษประหาร

    ผู้แต่ง : วิกตอร์ อูโก
    ผู้แปล : กรรณิกา จรรย์แสง
    สำนักพิมพ์ : มติชน
    ราคา : 160 บาท

    เมื่อสมัยเรียนปี 3 มีวิชาวิจัยที่ให้เราเลือกหัวข้ออะไรก็ได้ เป็นเหมือนการชิมลางก่อนที่จะทำธีสิสจริงตอนปี 4 เราเลยเลือกที่จะทำเรื่องโทษประหาร และนักโทษประหาร จำไม่ได้แล้วว่าจุดเริ่มต้นมันคืออะไร พอเดินเข้าร้านหนังสือ เห็นหนังสือเล่มนี้เลยไม่ลังเลที่จะหยิบมาเลย

    เพิ่งมารู้ทีหลังว่าวิกตอร์ อูโกคือคนเขียนเดียวกับ Les Miserables (ซึ่งคนไม่ได้ใช่หนอนหนังสืออย่างเรา บวกกับยังดูหนังไม่จบก็ขอข้ามตรงนี้ไป) เลยยิ่งเพิ่มความอยากหยิบมาอ่านเข้าไปอีก

    วันสุดท้ายของนักโทษประหารเป็นการเล่าเรื่องแบบไม่บอกว่าใครเป็นคนเล่า ไม่บอกว่าทำผิดอะไรมาถึงกับต้องโดนประหารชีวิต เป็นการเล่าเรื่องความเจ็บปวดใจบวกกับกลัวตายเหมือนคนปกติทั่วไป

    แต่ความรู้สึกหลังจากที่อ่านเล่มนี้ เราก็เข้าใจเลยว่าสุดท้ายแล้วโทษประหารก็ไม่ได้ช่วยให้สังคมมีความรักตัวกลัวตายมากขึ้นหรอก เพราะบรรยากาศที่คนมารอดูการประหารชีวิต มันเป็นความสะใจที่คนได้เห็นคนทำความผิดนั้นโดนลงโทษ มันสมควรแล้วที่จะโดนตัดหัวไปซะ แต่ไม่ได้ทำให้เกรงกลัวว่าอย่าทำผิดเพราะซักวันเราอาจจะมีจุดจบแบบนั้น ส่วนใหญ่แล้วคนก็จะคิดได้ในวาระสุดท้ายของตัวเองนั่นแหละ

    มีอยู่ตอนหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า เด็กชายคนหนึ่งที่เคยไปดูโทษประหารตัดหัวนี้ กลับต้องจบชีวิตลงด้วยเครื่องกิโยตินเหมือนกัน เป็นข้อพิสูจน์ว่าถึงแม้จะมีโทษประหาร ถึงแม้จะเคยได้เห็นกับตาตัวเอง ก็ไม่ได้ทำให้จิตใจคนกระจ่าง เกรงกลัวการทำผิดขึ้นมาได้

    พาร์ทของหนังสือไม่ได้ทำให้เราประทับใจเวอร์ขนาดนั้น อาจจะเพราะหลาย ๆ อย่าง ไม่ได้หลงใหลในความเป็นฝรั่งเศส เราเลยไม่เก็ตหลาย ๆ ส่วนที่เขาพรรณนา อย่างพวกสถานที่ หรือสภาพบ้านเมือง แล้วก็เพราะเราเคยอ่านหนังสือของคุณยุทธบางขวางที่เล่าเกี่ยวกับการเป็นพี่เลี้ยงนักโทษประหาร (ซึ่งอันนั้นมาหมด ทั้งรูปคดี คำตัดสิน เล่าแม้กระทั่งว่านักโทษเหล่านั้นขออะไรเป็นอย่างสุดท้ายในชีวิต) คือสะเทือนใจมาก ๆ จนต้องอ่านแบบแตะ ๆ ไม่ได้อ่านทุกบททุกตอน 

    พอถึงท้ายบทถึงได้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนการบุกเบิกการเขียนใหม่ ๆ ในยุคสมัยนั้น ที่ตัวละครไม่ได้เป็นวีรบุรุษ ไม่ได้มีภาษาที่เอื้อมไม่ถึง แต่เป็นการเล่าเรื่องของคนที่รู้จุดจบของชีวิต ความคิดร้อยแปดอย่างพุ่งพล่าน น่าจะเป็นเหมือน Social Movement ที่สำคัญในยุคนั้นในการเรียกร้องให้ยุติการประหารชีวิต

    ปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว แต่ในประเทศเรายังคงมีอยู่ แต่เมื่อดูสภาพสังคมแล้วคงต้องคิดกันเอาเองว่าการมีโทษประหารมันมีพาวเวอร์มากพอที่คนจะกลัวการทำผิดหรือเปล่า คงต้องเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันไปอีกนานจนกว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

    ปล.เป็นเพียงการรีวิวของนักอ่านที่มีความรู้น้อยนิดทางด้านนี้ ถูกใจไม่ถูกใจก็แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

    .


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in