เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
องค์-การ-ระหว่าง-ประเทศChaitawat Marc Seephongsai
Short Introduction "องค์การระหว่างประเทศ"

  •           องค์การระหว่างประเทศ เริ่มแรกเกิดขึ้นจากความร่วมมือของประมุขของประเทศในยุโรป ภายหลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลง ได้เกิดการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna)ในปี ค.ศ 1815 ขึ้นเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเรื่องของสงครามระหว่างรัฐที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต ด้วยเหตุนี้องค์การระหว่างประเทศในลัษณะของความร่วมมือกันระหว่างประเทศจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

              ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้น (league of nations) โดยองค์การสันนิบาตชาติจัดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความร่วมมือทั้งทางด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นองค์การระหว่างประเทศที่รวมเอาความร่วมมือระหว่างประเทศในแทบทุกด้านเอาไง้ในองค์การเดียว แถมเป็นองค์การแรกของโลกเสรยด้วยที่มีลักษณะของการร่วมมือกันที่หลากหลายขนาดนี้ 


               แต่ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศได้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการทำงานที่มีความเฉพาะด้านเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยแบ่งเป็น

              องค์การระหว่างประเทศทางด้านสังคมที่มีบทบาทหน้าที่ในการวางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐ วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศ และการให้บริการ

              ส่วนองค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจมีหน้าที่ ดูแลให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของระบบเศรษฐกิจ และองค์การระหว่างประเทศทางการเมือง ทำหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างนานาชาติผ่านกลไกและกติกาของกฎหมายระหว่างประเทศ 

              องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

              การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเป็นเป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกันโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญดังนี้
                  1. เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
                   2. ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสำหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน
                    3. รัฐได้รู้ถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบันและวิธีการที่เป็นระบบ
              การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ จึงเป็นทางออกของรัฐในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และวางหลักเกณฑ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติ เพื่อสร้างระเบียบและกฎเกณฑ์ของในการอยู่ร่วมกันกรือการทีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศต่าง ๆ ในโลก

สำหรับบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ นั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบทบาทสำคัญ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

              องค์การระหว่างประเทศทางสังคม มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางสังคม วัฒนธรรมและมนุษยธรรม อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขของมวลมนุษยชาติ โดยมีบทบาทที่สำคัญ มีดังนี้
                   1. วางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐ เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน
                   2. วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อกันอย่างสะดวก ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สหภาพไปรษณียสากล
                   3. การให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การให้ข่าวสาร การบรรเทาทุกข์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

              บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ยังมีบทบาทหน้าที่ในการมุ่งแก้ปัญหา. เศรษฐกิจของสังคมโลก ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและให้ปฏิบัติตามกติกา ดังนี้ต่อไปนี้
                    1. เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านการเงิน
                    2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่กำลังพัฒนานำไปลงทุนพัฒนาประเทศ มีกองทุนเงินตราต่างประเทศให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหา
                   3. วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสังคมโลก และให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม
                   4. แนะนำการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของเงินตรา
                   5. ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งจัดฝึก อบรม

              บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมืองเป็นบทบาทที่มุ่งเพื่อรักษาสันติภาพและประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคง โดยบทบาทหน้าที่มีดังนี้
                   1. ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและรักษาความมั่นคงร่วมกัน โดยไม่ใช้กำลังและให้ความสำคัญกับกองกำลังรักษาสันติภาพ ทำหน้าที่รักษาสันติภาพในบริเวณพื้นที่ที่มีข้อพิพาท
                    2. ยุติกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี โดยวิธีทางการทูต การไกล่เกลี่ย การเจรจา และการประนีประนอม
                    3. สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช ปกครองตนเองด้วยหลักการกำหนดโดยตนเอง
                    4. สนับสนุนการลดกำลังอาวุธ และการควบคุมอาวุธ การห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงร่วมกัน

              นอกจากการมีการแยกเอาบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนขององค์การระหว่างประเทศแต่ละรูปแบบออกจากกันแล้ว ยังคงมีเรื่องของลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ ที่สามารถนำมาใช้จัดแบ่งลักษณะขององค์การระหว่างประเทศได้ โดยองค์การระหว่างประเทศได้ถูกจัดแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 

                    1. ยึดถือตามบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นการแบ่งตามภารกิจที่ปฏิบัติในการให้ความร่วมมือ จึงแบ่งออกเป็นองค์การระหว่างประเทศทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านการเมือง แต่บางองค์การมีเป้าหมายในการดำเนินงานครอบคลุมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ดังเช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การที่มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคของโลก และมีบทบาทสูงมากในสังคมโลกปัจจุบัน

                   2. ยึดถือตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นการแบ่งตามลักษณะของการรวมกลุ่มโดยยึดเขตพื้นที่ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ จึงแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโลก หรือระดับสากล เป็นองค์การที่มีสมาชิกมาจากเขตพื้นที่โลก ดังเช่น องค์การสหประชาชาติ และองค์การระดับภูมิภาค ยึดหลักเข้ามารวมกันตามข้อผูกพันทางภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งสมาชิกจะรวมกลุ่มอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ดังเช่น องค์การอาเซียน เป็นการรวมกลุ่มในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

               เมื่อได้ลองทำความเข้าใจใน ความหมาย บทบาท หน้าที่และลักษณะการแบ่งขององค์การระหว่างประเทศแล้ว ในตอนหน้าผู้เขียนจะขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับองค์การระหว่างประเทศ ที่เป็นองค์การระหว่างประเทศจริง ๆ สักที มิใช่เป็นเพียงคำนิยาม อย่างที่ผ่านมาแล้วทั้ง 3 ตอน แต่เหตุที่ผู้เขียนหยิบยกเอานิยามและประวัติความเป็นมาขององค์การระหว่างประเทศขึ้นมาเป็นตอนต้น ๆ ของการเปิดเรื่องนั้น ก็เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน เกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานขององค์การระหว่างประเทศ ก่อนที่เราจะได้ทำความรู้จักกับองค์การระหว่างประเทศที่เป็นตัวองค์การจริง ๆ ในภายหน้า 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in